การพัฒนาทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 4 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การนำเสนอข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อัญชนา พรหมเพ็ญ
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร
ชวนพบ เอี่ยวสานุรักษ์

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน จากหน่วยการเรียนรู้เรื่องการนำเสนอข้อมูล โดยใช้การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 4 2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 4 ระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 13 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แบบบันทึกการสะท้อนคิดของครู และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


            1)  ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (gif.latex?\bar{x}= 16.62) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}= 2.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


           2)  ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระหว่างคะแนนเฉลี่ย หลังเรียนกับคะแนนเกณฑ์ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (ร้อยละ 83.10) สูงกว่าคะแนนเกณฑ์ (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


            3) ผลการสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 4 พบว่า อธิบายได้ด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การจัดห้องเรียน คือ จัดเป็นห้องเรียนออนไลน์ 2) สื่อวัสดุอุปกรณ์สำคัญ คือ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์ โปรแกรมสำหรับ การสื่อสารออนไลน์ และใบความรู้ 3) เวลาที่ใช้ คือ 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และ  4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 9 ขั้นตอน คือ (1) นำเข้าสู่บทเรียน (2) จัดเตรียมเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (3) เข้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (4) ทำแบบทดสอบในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (5) กลับกลุ่มบ้าน (6) ทำแบบทดสอบในกลุ่มบ้าน  (7) กระบวนการตรวจสอบ                 (8) ประเมินรายบุคคล และ (9) สอนซ้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ทวีพริ้นท์.

ธัญญา กาศรุญ. (2563). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. สุราษฎร์ธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) ในการออกแบบจัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 2 (1 มกราคม - มิถุนายน) : 6 - 15.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : สถาบันฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สถาบันฯ.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). “โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ,” วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22 (2 กรกฎาคม – ธันวาคม) : 207.

สุชิดา คำแสงทอง. (2560). “การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น แบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16 (2 พฤษภาคม – สิงหาคม) : 125.

Abed, A.Z. and et al. (2020). Predicting Effect Implementing the Jigsaw Strategy on the Academic Achievement of Students in Mathematics Classes. International Electronic Journal of Mathematics Education

Holliday, D. C. (2002). The development of Jigsaw IV in a Secondary Social Studies Classroom. Lanham, MD : University Press of America.

Joseph Majiyebo TIMAYI. (2016). Effects of Jigsaw IV Cooperative Learning on Interest and Academic Performance of Secondary School Students in Geometry in Kaduna State. BSC. ED. MATHEMATICS (ABU, 2010) M.ED/EDU/5584/ 2011 – 2012.

Olaoye, Adetunji Abiola. (2019). “Instructional Outputs in and problem-solving approaches of Mathematical aspect of Statistics,” Abacus (Mathematics Education Series). 44(1) : 279.

Yeubun, I.Z.S., Noornia, A., and Ambarwati, L. (2019). “The Effect of Jigsaw Cooperative Learning Methods on Mathematical Communication Ability Viewed Based on Student Personality,” Formatif : Jurnal Ilmiah Pendidikan MIPA. 9 (4) : 333 - 338.