ความสัมพันธ์ทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา พ.ศ.2565 : การวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางการเมืองระดับชาติกับการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยา 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของเมืองพัทยากับเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยา งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวเศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงสหวิทยาการ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลงพื้นที่ภาคสนาม การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม สามารถสรุปผลจากการศึกษา ดังนี้ 1.ปัจจัยเชิงโครงสร้างของการเมืองระดับชาติมีความสัมพันธ์กับการเมืองและการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและนายกเมืองพัทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ใช้อำนาจแทรกแซงการปกครองท้องถิ่นของชาวเมืองพัทยาเพื่อเตรียมการสืบทอดอำนาจ มีการประสานผลประโยชน์ทางชนชั้นกลายเป็นปฏิสัมพันธ์เชิงโครงสร้างอำนาจการเมืองระดับชาติมีผลสัมพันธ์กับการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 2.ปัจจัยเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของเมืองพัทยาในปัจจุบันมีผลสัมพันธ์ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและนายกเมืองพัทยา ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจในเมืองพัทยาหลังรัฐประหาร 2557 และการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับผู้ประกอบการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและนายกเมืองพัทยาเป็นสัญญาณที่ดีกับการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยหลังจากว่างเว้นการเลือกตั้งมา 10 ปี เป็นจิตวิทยาการเมืองเพื่อกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวว่าเมืองพัทยาจะกลับมาเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มเครือคนรุ่นใหม่พัทยา. (29 เมษายน 2565).สัมภาษณ์กลุ่ม
กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย. (28 เมษายน 2565). สัมภาษณ์กลุ่ม.
ก้องกิจ กิจก้องเกียรติ(นามสมมติ). สื่อมวลชนท้องถิ่นพัทยา. (12 เมษายน 2565) สัมภาษณ์
เครือข่ายภาคประชาชาชนเมืองพัทยา. (30 เมษายน 2565).สัมภาษณ์กลุ่ม
จิตรวดี บัวแก้ว(นามสมมติ) ตัวแทนภาคประชาสังคมพัทยา, (23 เมษายน 2565). สัมภาษณ์
ชวน คุณพระช่วย(นามสมมุติ) ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารเมืองพัทยา (2 เมษายน 2565). สัมภาษณ์
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และ คณะ. (2561). โครงการการสำรวจเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในประเทศไทย. โครงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
ชัยยันต์ วิไชยชิต(นามสมมติ) นักวิชาการท้องถิ่น (28 เมษายน 2556).สัมภาษณ์
เดลินิวส์ออนไลน์.(2565) ภาคธุรกิจหนุนนายกเมืองพัทยาคนใหม่ ฟื้นท่องเที่ยวเร่งแก้ปัญหาปากท้อง. [online].เข้าถึงได้จาก : https://www.dailynews.co.th/news/894589 (25 มี.ค.2565).
โตมร สอนสังข์ (นามสมมติ), สื่อมวลชนท้องถิ่นพัทยา สัมภาษณ์ (26 เมษายน 2565). สัมภาษณ์
ไทยรัฐออนไลน์.(2562) ชลบุรี ช็อก "อิทธิพล-ปรเมศวร์" พ่ายผู้สมัครโนเนม อนาคตใหม่!. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/local/east/1528871 (25 มี.ค. 2565).
ไทยรัฐออนไลน์.(2565). ซูม ‘พัทยา’ เมืองท่องเที่ยวแสนล้านที่ ‘นายกเมือง’ คนใหม่ต้องมาบริหาร ปลุกเศรษฐกิจ และฟื้นความหวัง.[online]. เข้าถึงได้จาก : https://plus.thairath.co.th/topic/money/101465 (16 มีนาคม 2565).
ธนาธร คงสมศักดิ์เจียม.(นามสมมติ) เครือข่ายคนรุ่นใหม่พัทยา (5 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ.(2565)"ธนาธร" ลั่น "ทวงคืนพัทยา" เปิดตัวผู้สมัครนายกเล็กเย็นนี้ ชนบ้านใหญ่คุณปลื้ม” .[online]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000024854 (14 มี.ค. 2565).
นาตาชา วศินดิลก. (2540). โครงสร้างอำนาจในชุมชนกับการเมืองท้องถิ่น : ศึกษากรณีเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บีบีซี.(2561) “นายกฯ ตั้ง สนธยา คุณปลื้ม เป็นที่ปรึกษาด้านการเมือง”.[online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bbc.com/thai/thailand-43792588 (18 มีนาคม 2565).
ประชาไท.(2561). “ประยุทธ์' งัด ม.44 ตั้ง สนธยา คุณปลื้ม นั่งนายกพัทยา.” [online]. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2018/09/78850 (16 มีนาคม 2565).
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2564). “ญาณวิทยาวิพากษ์เพื่อการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศสังคม.” เอกสารอัดสำเนา
มติชน.(2561). “อจ.จุฬาฯ ชี้ม.44 ตั้ง “สนธยา” นั่งนายกเมืองพัทยา วางเครือข่ายสืบทอดอำนาจคสช.”. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.matichon.co.th/politics/news_1147716 (18 มีนาคม 2565).
มติชน.(2565). “บทนำ : 22 พ.ค.เลือกตั้ง กทม.-พัทยา”. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/article/news_3234511 (17 มีนาคม 2565).
มารินี สินธุ์วรานนท์ชัย(นามสมมติ), ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมเมืองพัทยา. (5 เมษายน 2565) สัมภาษณ์
เมืองพัทยา.(2565) แผนพัฒนาเมืองพัทยา พ.ศ.2561 – 2565 [online]. เข้าถึงได้จาก https://www.pattaya.go.th/document/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%205%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%20%20%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%202561-2565.pdf
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการเมืองพัทยา.(2565) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจเมืองพัทยา. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://info.pattaya.go.th/_layouts/15/start.aspx#/SitePages/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81.aspx (20 มีนาคม 2565)
ศูนย์ข่าวศรีราชา. (2564). พังยับ! 8 องค์กรท่องเที่ยวพัทยายื่น 6 ข้อเสนอจี้รัฐเยียวยาหลังปล่อยคอร์รัปชันทำโควิด-19 กระจาย. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565, จาก https://mgronline.com/local/detail/9640000002047
สติธร ธนานิธิโชติและธนพันธ์ไล่ประกอบทรัพย์. (2560). “ระบบการคัดสรรผู้สมัคร รับเลือกตั้งในนามพรรคการเมือง : ทางเลือกและข้อเสนอเสนอแนะสำหรับประเทศไทย”. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(1), 6.
สมชาย จึงเกียรติคุณ(นามสมมติ). (21 มีนาคม 2565) สัมภาษณ์.
สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณเมืองพัทยา (2564) โครงการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปจำนวนการกระจายตัวและวัตถุประสงค์ในการย้ายถิ่นของประชากรแฝงในเมืองพัทยา เพื่อใช้กำหนดแนวทางในการพัฒนาเมืองพัทยา ระยะที่ 2 สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณเมืองพัทยา ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนา ฝ่ายวิจัยประเมินผล เมืองพัทยา
อุทิศ มิตรแท้(นามสมมติ). นักการเมืองท้องถิ่นพัทยา, (3 เมษายน 2565) สัมภาษณ์
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2563). “รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม:จาก คสช.-ถึงเสื้อคลุมประชาธิปไตย”. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2020): (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 233-234
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2565). “43 ปีเมืองพัทยา : 2521-2564 พัฒนาการ การเปลี่ยนผ่านและความท้าทายในอนาคต” ใน125ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2540 – 2565 เล่ม 2 พัฒนาการองค์กรปกครองท้องถิ่น จากอดีต-ปัจจุบัน เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
Colin Rallings and Michael Thrasher. (1997). Local Elections in Britain. New York : Routledge.
Creswell, J. W. (2007). Qualitative Inquiry & Research Design. London: Sage.
Ezrow, Lawrence. (2010). Linking Citizens and Parties : How ElectoralSystems Matter for Political Representation. New York : OxfordUniversity Press
Ilaw. (2561). “สี่ปี คสช. ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น กระจายอำนาจถอยหลัง ราชการแทรกแซงท้องถิ่น.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://ilaw.or.th/node/4809 (18 มีนาคม 2565).