ประสิทธิภาพระบบตอบรับอัตโนมัติที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการด้านการสื่อสาร ของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทย

Main Article Content

สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ
รชพร จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบตอบรับอัตโนมัติที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศและเคยใช้แชทบอทของสายการบิน ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนจึงได้คำนวณกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของคอคแรน ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 คน และเพื่อป้องกันความผิดพลาดจึงเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นจำนวน 390 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย        ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน


         ผลจากการศึกษาซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา พบว่า 1) ระดับคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.84) 2) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ผู้โดยสารชาวไทยที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประเภทการใช้งานระบบ  แชทบอทสายการบินและวัตถุประสงค์ในการใช้แชทบอทธุรกิจสายการบินแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ประสิทธิภาพระบบตอบรับอัตโนมัติส่งผลต่อคุณภาพการบริการด้านการสื่อสารของธุรกิจสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศไทยโดยส่งผลร้อยละ 68 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการบิน. (2565). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

จักรพันธ์ สาตมุณี ภคพล สุนทรโรจน์ คัชรินทร์ ทองฟัก และพงษ์กัมปนาท แก้วตา. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านระบบแอปพลิเคชัน LINE Chatbot ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(1), 100-111.

จันทร์เมธา ศรีรักษา. (2564). ระบบและการจัดการการท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ ในศตวรรษที่ 21: หน่วยที่ 12 การจัดการการขนส่งทางอากาศ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2565). มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain โลจิสติกส์และซัพพลายเชนในธุรกิจสายการบิน. [online]. เข้าถึงได้จาก www.thailandindustry.com/onlinemag/view2php?id=733&section=5&issues=28.

ทักษพร วสุธารัตน์ วอนชนก ไชยสุนทรและสิงหะ ฉวีสุข. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้บริการทางการเงินผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ แชทบอทของธนาคารพาณิชย์ไทยภาคกลาง. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 11(1), 39-51.

ธีรพันธ์ สงวนวงศ์ พรชัย เอื้ออารี พูลภัทร์ ชมจิตต์ บงกชรัตน์ เปี่ยมสิริกมล และวีรชัย บุญญาพัฒนาพงศ์. (2561). การรับรู้คุณภาพการบริการของผู้โดยสารภายในประเทศที่มีต่อเคาน์เตอร์เช็คอิน สายการบินนกแอร์ ประจำสถานีภูเก็ต. [online]. เข้าถึงได้จากhttps://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/view/278.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.

ปัญฑ์ชนิตรา ศรีทองธรรมและจันทร์แรม เรือนแป้น. (2554). ความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้สายการบินภายในประเทศต่อคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 17(1), 153-161.

ประสิทธิ์ ฑีฆพุฒิ. (2564). ไอซีทีและการจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: สรรพสาส์นวิชาการ (2004) จำกัด.

พีรยุทธ คุ้มศักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อคุณภาพบริการของสายการบินต้นทุนต่ำภายในประเทศ.การประชุมวิชาการระดับชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 2 (หน้า 1-11).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). ออกแบบเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ลลิตาภรณ์ คำแจ่ม สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ และโชติรส กมลสวัสดิ์. (2565). การศึกษามาตรการและความปลอดภัย คุณภาพการให้บริการ และส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15 “Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2022” (หน้า 182-192). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุดสวาท จิตร์สุภา พาริดา พรหมบุตร และศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี. (2564). ความต้องการใช้สารสนเทศของผู้โดยสารสายการบินระหว่างประเทศ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(1), 76-88.

แสงอรุณ วรากุลศิริศักดิ์ และ อุมาวรรณ วาทกิจ. (2564). คุณภาพการบริการที่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารแบบบอกต่อของธุรกิจสปาในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1), 87-99.

อภิวรรณ ศิรินันทนา เสาวนีย์ วรรณประภา และกรรณิกา พงษ์ชัย. (2562). รูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13(2), 92-101.