ปฏิบัติการตอบโต้การกีดกันการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

วัทธิกร แสงอรุณ
สกฤติ อิสริยานนท์

บทคัดย่อ

         การปฏิบัติการตอบโต้การกีดกันการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดจากกระบวนการเคลื่อนไหวในการต่อสู้ของกลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น เพื่อต่อสู้กับอำนาจอันไม่ชอบธรรมจากการนำพื้นที่โยธะกาไปใช้ประโยชน์ในโครงการพัฒนาของภาครัฐ และเพื่อเรียกร้องหาความยุติธรรมในพื้นที่โยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบเก่าจะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ ทฤษฎีพฤติกรรมรวมหมู่ และทฤษฎีการระดมทรัพยากร และรูปแบบใหม่เป็นลักษณะการตอบโต้เพื่อหาความยุติธรรมให้สังคมได้ทราบข้อเท็จจริง ถึงแม้ว่าพลังที่แท้จริงของการเคลื่อนไหวทางสังคมจะอยู่ที่การปฏิบัติการตอบโต้หรือเป็นการเคลื่อนไหวให้สังคมได้ทราบโดยทั่วกัน ในยุคสมัยใหม่จึงทำให้สื่อสังคม ยังมีความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มจำนวนการรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงกันในสังคม ซึ่งผลการวิจัย พบว่า การกระทำบางอย่างร่วมกัน ของชาวบ้านตำบลโยธะกา ผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีพิพาทในปัญหาที่ดิน ทำให้เกิดการรวมตัวหรือการวมหมู่จนกลายมาเป็น “กลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น” ในทางปฏิบัติการตอบโต้ของกลุ่มได้มีการรวมตัวเพื่อกระทำการ ดังนี้ 1.การยื่นหนังสือเรียกร้อง 2.การทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ 3.การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย 4.การร่วมต่อสู้กับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ และ 5.การสร้างและปฏิบัติการทางวาทกรรม การกระทำข้างต้นชาวโยธะกามีร่วมกันคือ “ความหวัง” หวังว่าจะหลุดพ้นจากปัญหาหวังว่าจะชนะกับความอยุติธรรมในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไทยพับลิก้า-กล้าพูดความจริง. 30 ปี โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด : การพัฒนาที่่ยั่งยืน. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2012/11/30-years-easternseaboard-development/. 2555.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2543). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใช้กับสังคมไทยได้หรือไม่? ใน โครงการพลวัตเศรษฐกิจการเมืองไทย พ.ศ. 2543: ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2545). วิถีชีวิตวิธีสู้ ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุคส์).

พรพนา ก๊วยเจริญ. ประวัติศาสตร์ที่ดินชาวนาตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://landwatchthai.org/1108.2561.

พลวุฒิ สงสกุล. รู้จัก ‘อีอีซี’ โครงการความหวังเศรษฐกิจไทย 1.5 ล้านล้านบาท ภาคต่อของ ‘อีสเทิร์นซีบอร์ด’ ยุคป๋าเปรม.[online]. เข้าถึงได้จาก :https://thestandard.co/from-eec-to-esb/. 2560.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0. [online]. เข้าถึงได้จาก :https://www.eeco.or.th/เกี่ยวกับองค์กร/ความเป็นมา. 2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 5. [online].เข้าถึงได้จาก : http://www.nesdb.go.th.2550.

Eder, K. (1985). The “New Social Movement”:Moral Crusades, Political Pressure Groups, or Social Movements?. Social Research. 52(4) 869-890.

Habermas, J. (1987). The Philosophical Discourse of Modernity. Cambridge: The MIT Press.