ถ้อยคำนัยผกผันที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นผ่านเพจเฟซบุ๊ก “เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์”

Main Article Content

ฉัตรแก้ว ยุวพรม

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะถ้อยคำนัยผกผันที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นผ่านเพจเฟซบุ๊ก “เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์” ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 รวม 3 เดือน พบข้อความแสดงความคิดเห็น จำนวน 8,409 ข้อความ โดยพบการใช้ถ้อยคำนัยผกผันจำนวน 678 ถ้อยคำ ผลการวิจัยการใช้ถ้อยคำนัยผกผันจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) ถ้อยคำนัยผกผันที่พิจารณาตามลักษณะการใช้ พบ 6 ลักษณะ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การกล่าวเน้นให้เกินจริง การกล่าวถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่สมเหตุสมผล  การวางถ้อยคำที่มีความหมายขัดแย้ง  ไว้คู่กัน การใช้ถ้อยคำแบบเสียงสะท้อนกลับ การกล่าวถ้อยคำนัยผกผันแบบความหมายเป็นนัยตามขนบ และการใช้ระดับภาษาที่ไม่เหมาะสม 2) ถ้อยคำนัยผกผันที่พิจารณาตามกลุ่มของวัจนกรรม พบ 4 กลุ่มวัจนกรรม เรียงลำดับจากมาก    ไปน้อย ได้แก่ ถ้อยคำนัยผกผันในกลุ่มวัจนกรรมการบอกกล่าว ถ้อยคำนัยผกผันในกลุ่มวัจนกรรมการชี้นำ ถ้อยคำ นัยผกผันในกลุ่มวัจนกรรมแสดงความรู้สึก และถ้อยคำนัยผกผันในกลุ่มวัจนกรรมการผูกมัด ซึ่งการใช้ถ้อยคำนัยผกผัน   ที่ปรากฏ สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์การใช้ภาษาแบบอ้อมซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักรู้ความสำคัญของทางเท้าและทำให้เกิดการปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาศึกษา วาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96, 8 ฉบับพิเศษ (29 มกราคม): 1-51.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรันธร จารุพุทธิกร. (2557). การศึกษาภูมิทัศน์บนทางเท้าของย่านพาณิชยกรรม กรณีศึกษา : ทางเท้าย่าน สยามสแควร์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. (2564). ถ้อยคำนัยผกผันที่ใช้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กกรณีข่าวรักสามเส้าในวงการบันเทิงกับการระรานทางไซเบอร์ : การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18 (มกราคม-เมษายน): 103-116.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คู่มือแนวทางการวางแผนพัฒนาเมืองในอนาคต ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=12010. 2566.

อรกัญญา อนันต์ทรัพย์สุข. (2559). ถ้อยคำนัยผกผันในการแสดงเดี่ยวไมโครโฟนครั้งที่ 7-10 ของอุดม แต้พาณิช. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวี บุนนาค. (2562). กลวิธีทางภาษาในการประกอบสร้างภาพลักษณ์องค์กรธุรกิจ ในภาวะวิกฤตผ่านเฟซบุ๊กองค์กร. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Attardo, Salvatore. (2001). Humorous Texts: Semantic and Pragmatic Analysis. Berlin: Mouton de Gruyter.

Heverkate, H. (1990). A Speech Act Analysis of Irony. Journal of pragmatics 14(1): 77-109.

Panpothong, N. (1996). A pragmatic study of verbal irony in Thai. Ph.D. Thesis (Linguistics), University of Hawai’I.

Searle, R. (1969). Speech Acts. Cambridge University Press.