การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดเล็กในเครือข่ายที่ 53 สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ของโรงเรียนขนาดเล็กในเครือข่ายที่ 53 สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ใน 5 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วม
ในการวางแผน 2) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และ 5) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กในเครือข่ายที่ 53 สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 โรงเรียน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดเล็กในเครือข่ายที่ 53 สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการ
รับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมี
ส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่วนด้านการมี
ส่วนร่วมในการวางแผน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกรัตน์ ทำจะดี. (2560). การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2565). กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6 , (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 289-290.
ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ธันยาภัทร์ เทียนธนาทิพย์และธรินธร นามวรรณ. (2563). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7, (กรกฎาคม) ; 184-185.
นันทพงศ์ หมิแหละหมันและคณะ. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษากลุ่ม เครือข่าย โรงเรียนที่ 30 สังกัดสำนักการศึกษา สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8, (มกราคม – มิถุนายน) : 142-143.
นิอัสมีรา นิมะมิง. (2563). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินงานแนะแนวตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
พรเทพ เหมรานนท์. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งงผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พัชรา เดชโฮม. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนนำร่องในเขตธนบุรี. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พาตีฮะห์ เดเบาะ. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ฤทัยรัตน์ ปัญญาฉิม. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9, (มกราคม – มิถุนายน) : 299.
วิบูลอร นิลพิบูลณ์. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สิทธิชัย อุตทาสา. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุภัททา อินทรศักดิ์. (2561). การนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา.
เสาวนีย์ เดือนเด่น และคณะ. (2558). การมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
อรอนงค์ แจ่มจำรัสและชัยอนันท์ มั่นคง. (2565). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารวิจยวิชาการ, 5, (พฤษภาคม – มิถุนายน) : 205.
Cohen,J.M. and Uphoff,N.T.. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York : Richard D. Irwin.
Shadid, W, wil P. and others. (1982). Access and Participation A Theortical Approach in Participation of the Poor in Development. New York McGraw-hill.