เปรียบเทียบแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละเจเนอเรชั่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกก

Main Article Content

วิทมา ธรรมเจริญ
ภัทรบดี พิมพ์กิ
ศันสนีย์ อาจนาฝาย
พนม จงกล
กรกนก สนิทการ

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละเจเนอเรชั่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกก และ 2) เปรียบเทียบแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละเจเนอเรชั่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ t-test และ ANOVA ทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของ LSD และ Dunnett’s T3


         ผลการศึกษาพบว่า ทุกเจเนอเรชั่นซื้อสินค้าประเภทของใช้มากที่สุด โดยซื้อเพื่อนำไปใช้เอง ด้านบุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อสินค้ามากที่สุดคือตนเอง และเหตุผลหลักที่ตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะประโยชน์ใช้สอย ด้านจำนวนเงินในการซื้อสินค้าของ Gen Z ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าในราคาต่ำว่า 500 บาท ส่วน Gen B, Gen X และ Gen Y ส่วนใหญ่ซื้อในราคา 500-1,500 บาท ด้านลวดลาย Gen B , Gen X และ Gen Y ชื่นชอบลายไทยมากที่สุด Gen Z ชื่นชอบลายสามเหลี่ยมมากที่สุด ด้านโทนสี Gen B ชอบสีโทนเย็น Gen X ชอบสีเอิร์ทโทน Gen Y และ Gen Z ชอบสีธรรมชาติมากที่สุด ทุกเจเนอเรชั่นชอบเครื่องประกอบการแต่งกายมากที่สุด ในภาพรวมผู้บริโภค Gen B และ Gen X มีแนวโน้มการใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกในระดับมาก ส่วน Gen Y และ Gen Z มีแนวโน้มการใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกในระดับ     ปานกลาง


          ผู้บริโภค Gen B ที่มีสถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกัน มีแนวโน้มพฤติกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกแตกต่างกัน ผู้บริโภค Gen X ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีแนวโน้มพฤติกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกแตกต่างกัน ผู้บริโภค Gen Y ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีแนวโน้มพฤติกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกแตกต่างกัน และผู้บริโภค Gen Z ที่มีเพศแตกต่างกัน มีแนวโน้มพฤติกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาพร ศิลารังสี และพัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อความผูกพันร้านโชห่วย ในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24(2): 103-116.

จิตราพร ลดาดก. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โชติกา เศรษฐธัญการ. การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาระหว่างเพศหญิงกับเพศชายที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ทางเพศ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://so04.tci- thaijo.org/index.php/mrsj/article/download/196563/142965/635316. 2562

นัทนิชา โชติพิทยานนท์. การจัดการตลาด (MPP 5607). [online]. เข้าถึงได้จาก : https://elcpg.ssru.ac.th/natnicha_ha/. 2564

นรวรรณ ใจชื่น และรังษี ตองอ่อน. (2548). ผืนเสื่อ...สายใยทางสังคม“คนบางสระเก้า”. ในเอกสารชุดถอด ประสบการณ์ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่4. ขบวนการสร้างความสุขภาคตะวันออก ตำบลบางสระเก้า จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

นันทิดา แก้วทอง. (2558). การศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าตราผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตผ้าไหม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรียวัทน์ ด้วงนิล และธีรารัตน์ วรพิเชฐ. ระดับความสนใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อกาว ลาเท็กซ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/download/264969/175668/1012800. 2565

ราตรี บาระพรม. (2553). พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณ์เสื่อกกของลูกค้าจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรกานต์ ว่องไวรุด. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแปรรูปชนิดหมูแผ่นบางกรอบของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์.

ศิริวัฒน์ ชนะคุณ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://doctemple.wordpress.com/. 2559.

สรรเพชญ ไชยสิริยะสวัสดิ์. สแกนนิสัย “คน 4 เจเนอเรชั่น” แม้ต่างกันก็อยู่ร่วมกันได้. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401795159. 2561

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กาฬสินธุ์. ประสานการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx. 2564

อรชร มณีสงฆ์. พฤติกรรมผู้บริโภค. [online]. เข้าถึงได้จาก :

https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit3/MENUUNIT3.htm. 2566.

Fillgoods. เจาะพฤติกรรมผู้บริโภค 4 เจเนอเรชั่น ให้ผู้ประกอบการวางแผนการตลาดสร้างยอดขายทะลุเป้า.

[online]. เข้าถึงได้จาก : https://fillgoods.co/online-biz/shop-orders-focus-on-behavior- 4-generations-marketing-plan/. 2563.

Nunnally, J.C. and Bernstein, I.H. (1994). Psychometric Theory. McGraw-Hill: New York.