การศึกษากระบวนการพัฒนาพื้นฐาน 4 ด้านของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา พ.ศ. 2560

Main Article Content

เจนวิทย์ วารีบ่อ
วิวัฒน์ เพชรศรี
ธีรพงษ์ จันเปรียง
อติราช เกิดทอง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการพัฒนาพื้นฐาน 4 ด้าน ตามพระบรมราโชบาย                  ด้านการศึกษา และ (2) พัฒนาตัวชี้วัดของโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้าน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร และอาจารย์ จำนวน 12 คน บัณฑิตครู จำนวน 12 คน และนักศึกษา จำนวน 12 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ จำนวน 50 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับกระบวนการพัฒนานักศึกษา และแบบประเมินพื้นฐาน 4 ด้าน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อความ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ


          ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการพัฒนาของคณะครุศาสตร์ มี 2 ลักษณะ คือ การพัฒนาผ่านรายวิชาในหลักสูตร ประกอบด้วย หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะด้าน และการพัฒนาผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร (2) ตัวชี้วัดของโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้าน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ได้แก่ ด้านที่ 1 มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มี 5 ตัวชี้วัด 4 โครงสร้างย่อย ค่าเฉลี่ยความสอดคล้องอยู่ในช่วง 4.15-4.58 และค่าแอลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.87 ด้านที่ 2 มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง-มีคุณธรรม มี 7 ตัวชี้วัด 4 โครงสร้างย่อย ค่าเฉลี่ยความสอดคล้องอยู่ในช่วง 4.52-4.75 และค่าแอลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.91 ด้านที่ 3 มีงานทำ-มีอาชีพ มี 14 ตัวชี้วัด 2 โครงสร้างย่อย ค่าเฉลี่ยความสอดคล้องอยู่ในช่วง 4.43-4.78 และค่าแอลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.95 และด้านที่ 4 เป็นพลเมืองดี มี 15 ตัวชี้วัด 3 โครงสร้างย่อย ค่าเฉลี่ยความสอดคล้องอยู่ในช่วง 4.52-4.88 และค่าแอลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.94 เมื่อพิจารณาความเป็นเอกมิติ พบว่า ทุกโครงสร้างมีค่าไอเกนมากกว่า 1 เพียงค่าเดียว โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1.83-5.59

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/ E/056/T_0012.PDF. 2565.

กระทรวงศึกษาธิการ. น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สู่การปฏิบัติและปลุกจิตสำนึกความรักชาติ ศาสนาและเทิดทูนพระมหากษัตริย์. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.moe.go.th/. 2565.

คณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบ. ประกาศคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเครื่องมือทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2564. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://edu.vru.ac.th/main/wp-content/uploads/2021/12/tbase2564.pdf. 2565.

พรนภา สวัสดี. อว.จับมือ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฎสร้าง “วิศวกรสังคม” ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/4170-11.html. 2566.

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.rbru.ac.th/. 2565.

วิชัย ชัยโกศล และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 13. นครราชสีมา: กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 13.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hennink, M., & Kaiser, B. N. (2022). Sample sizes for saturation in qualitative research: A systematic review of empirical tests. Social Science & Medicine. 5 (November): 1-10.

Tavakol, M. & Wetzel, A. P. (2020). Factor Analysis: a means for theory and instrument development in support of construct validity. International Journal of Medical Education; Nottingham. 11 (November): 245-247.