การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง (2) เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามตัวแปรเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษาและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีกำหนดตามสูตรของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 275 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาแล้วสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า (1) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ครูที่มีเพศและประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายด้าน พบว่า ด้านการเป็นกัลยาณมิตรและด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนรายด้าน พบว่า ด้านการเป็นกัลยาณมิตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือและด้านภาวะผู้นำร่วมแตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิจัยราไพพรรณี. 12(1), 81.
บัญญัติ ลาภบุญ. (2562). สภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปราณี ไชยภักดี และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ.การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย”. ครั้งที่ 10. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://wjst.wu.ac.th.2561.
วรรณภา เออชูชื่น. (2563). ความต้องการของครูต่อบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษแปาประถมศึกษาระยอง เขต 1. สรุปรายงานผลการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.
วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน สหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิลาสินี เทพเสนา. (2564). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารต่อการส่งเสริมการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอเมืองเชียงราย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สมหมาย ปวะบุตร.ตำราหลักการศึกษา. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https://e-learning.srru.ac.th/.2558
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2564-2565. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https://seapt.go.th/agencyplan.2564.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่13 (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพมหานคร: ประกาศแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Darling-Hammond, L. (1996). What matters most: A competent teacher for every child. Phi Delta Kappan, 73(3), 193.
DuFour, R., & Mattos, M. (2013). Improve schools. Educational Leadership, 70(7), 34-39.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. in Attitude Theory and Measurement. 12(90-95). 15 P.90-95.
Speck, M. (1999). The principalship: building a learning community. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.