การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการการผลิต ชาดอกกาแฟด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ การผลิตชาดอกกาแฟด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ นักวิชาการ กลุ่มผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การจัดเวทีประชาคม และการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการการผลิตชาดอกกาแฟด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการพัฒนา 2 ด้าน คือ 1) เครื่องตากชาดอกกาแฟ เป็นเครื่องตากชาดอกกาแฟแบบมิดชิดมีกระจกปิดเพื่ออบชาดอกกาแฟในระหว่างตาก ผลทำให้ดอกกาแฟแห้งและเหลือความชื้นในระดับที่ต้องการและเก็บรักษาได้นานขึ้น 2) เครื่องคั่วชาดอกกาแฟ ผลทำให้ดอกกาแฟแห้งและมีสีน้ำตาลทอง เพื่อที่ให้เกิดกระบวนการ (Caramelization) หรือการไหม้ของน้ำตาลให้มีความหวานมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นต่อกลุ่ม คือ ลดระยะเวลาในการผลิตลง ลดการใช้แรงงานในการผลิตลดต้นทุนในการผลิต และเกิดนวัตกรรมกระบวนการการผลิตชาดอกกาแฟด้วยภูมิปัญญาที่มีผลต่อรสชาติชาดอกกาแฟที่มีมาตรฐาน ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ ผู้บริโภคมั่นใจในผลิตภัณฑ์ชาดอกกาแฟ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ เกิดการเผยแพร่นวัตกรรมกระบวนการการผลิตชาดอกกาแฟด้วยภูมิปัญญา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุณา คชเรนทร์ และ พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. (2565). การศึกษาฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระของชาดอกไม้. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://grad.dpu.ac.th. [16 สิงหาคม 2567].
เจนจิรา ชุมภูคา, วีระพงษ์ ทรัพย์นา และ ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์. (2557). ผลของอัตราส่วนประกอบ ต่อคุณภาพของไวน์เปลือกกาแฟและความพึงพอใจของผู้บริโภค. แก่นเกษตร. ปีที่ 42 (ฉบับ พิเศษ3). 415-420.
ชูเกียรติ กาญจนพารากูร. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ปิยะ พละปัญญา และณฐิตากานต์ ปินทุกาศ. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟอราบิก้าของวิสาหกิจชุมชนบ้านผาหมีตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36(2): 101-105.
พัชรี สิริตระกูลศักดิ์, ประสิทธิ์ ชุติชูเดช, เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช, มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย และเกรียงศักดิ์ บุญเที่ยง. (2556). กิจกรรมสารต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้ 15 ชนิดในจังหวัด มหาสารคาม. แก่นเกษตร. 41 (ฉบับพิเศษ1): 607-611.
พัทธชัย ปิ่นนาค, ธัญญ์นรี จิณะไชย, สุพิชญา เกสร และอาลิตา มาคูณ. (2563). ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเปลือกกาแฟเชอร์รี่และดอกกาแฟในระบบวนเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์. (1): 61–70.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2558). ตลาดชาในประเทศไทย. [Online].เข้าถึงจาก : http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=80. [16 สิงหาคม 2566].
สุรชัย อุตมอ่าง, นิรมล อุตมอ่าง และ รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). การยอมรับและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(13): 187-199.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.). (2549). นวัตกรรม...คนไทยทำได้ จากแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติจริง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สนช.
Ratanamarno, S. and Surbkar, S. (2017). Caffeine and catechins in fresh coffee leaf (Coffea arabica) and coffee leaf tea. Mj. Int. J. Sci. Tech. 11(3): 211-218.
Sakthirama, V., & Venkatram, R. (2013). An analysis on Food Choice Motives of Organic Tea in Coimbatore. Journal of Contemporary Research in Management. 8(2): 35.