ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ของนิสิตหญิงที่มีความอับอายในภาพลักษณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมต่อความเมตตากรุณาต่อตนเองของนิสิตหญิงที่มีความอับอายในภาพลักษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตหญิงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีความอับอายในภาพลักษณ์ที่มีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ (คะแนน 30 – 109) และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีจับคู่ของคะแนนความเมตตากรุณา
ต่อตนเองเพื่อเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง จำนวน 30 ข้อ มาตรวัด 5 ระดับที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .94 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยม จำนวน 12 ครั้ง สำหรับกลุ่มทดลอง และมีระยะการเก็บข้อมูล 3 ระยะ โดยสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำสองทางและทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตหญิงที่มีความอับอายในภาพลักษณ์กลุ่มทดลองมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเอง ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่านิสิตหญิงที่มีความอับอายในภาพลักษณ์กลุ่มควบคุมอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นิสิตหญิงที่มีความอับอายในภาพลักษณ์กลุ่มทดลองมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกร จงเกริกเกียรติ ฐานิตา ไพรีขยาด และณภัทร สุวัชราภิสิทธิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการเซลฟี่ และเจตคติต่อการทำศัลยกรรมเสริมความงามโดยมีการรับรู้ตนเสมือนวัตถุเป็นตัวแปรส่งผ่าน. โครงงานทางจิตวิทยาปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กมลชนก วโรภาสกร. (2557). การรับรู้และความไม่พึงพอใจต่อภาพลักษณ์รูปร่างของนักศึกษาหญิง. การค้นคว้าแบบ อิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมสุขภาพจิต. แบบทดสอบด้านสุขภาพจิต. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://dmh.go.th/test/. 10 เมษายน 2565.
ชริตา ปรมะธนวัตน์. (2559). อิทธิพลสื่อกับค่านิยมสวยด้วยแพทย์: ความงามแบบธรรมชาติที่บิดเบือนความเป็นจริง. วารสารการสื่อสารและการจัดการ. 2(1): 153-168.
นภาดา สุขสัมพันธ์ และอุมาภรณ์ สุขารมณ์. (2562). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมต่อการยอมรับตนเองของวัยรุ่นหญิงสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี. วารสารจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 9(2): 64-72.
นาถยา คงขาว. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไทยรัฐออนไลน์. นิสิตสาว ปี 3 ม.ดัง ปิดห้องรมควันฆ่าตัวตาย เชื่อ น้อยใจถูกล้อว่า อ้วน. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/local/east/1542813. 11 เมษายน 2562.
พลอยชมพู อัตศรัณย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ค่าดัชนี มวลกาย การประเมินตนเสมือนวัตถุ และความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในสตรีวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภัสธารีย์ พลไพโรจน์ กันตวรรณ คงแป้น และสิริมนัส พะชะนะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล
ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน. โครงงานทางจิตวิทยาปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชราวดี บุญสร้างสม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดและความสุขในนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีให้การปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
วิภาวรรณ อรัญมาลา. (2558). ผลการปรึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยมต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิสมา ยูโซะ. (2565). ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียน: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย. 53(3): 1-12.
อภิชาติ มุกดาม่วง. (2551). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนวัยรุ่น ระดับประกาศนียบัตร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
Alquwez, N., Cruz, J. P., Thobaity, A. A., Albougami, A., Almazan, J., Alabdulaziz, H., . . . Albloushi, M. (2021). Self- compassion influences the caring behaviour and compassion competence among saudi nursing students: A multi- university study. Nurs Open. 2021(8): 2732-2742.
Cash, T. F. & Smolak L. (2011). Body image: A hand book of science, practice, and prevention. 2nd ed. New York: The Guilford Press.
Corey, G. (2013). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. 9th ed. Belmont, CA: Books/Cole.
Ferreira C., Pinto-Gouveia, J. & Duarte, C. (2013). Self-compassion in the face of shame and body image dissatisfaction: Implications for eating disorders. Eating Behaviors. 14(2): 207-210
Marta-Simões J., Ferreira C, Mendes AL. (2016). Exploring the effect of external shame on body appreciation among Portuguese young adults: The role of self-compassion. Eating Behaviors. 23: 174-179
MGRONLINE. นศ.สาวโวยเสริมจมูกกับคลินิกในห้างดัง หมดกว่าครึ่งล้าน แต่ได้จมูกเกือบเน่า เชื่อเจอซิลิโคนปลอม. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/crime/detail/9660000006598. 21 มกราคม 2566.
Mhamel, I. E., & Nadia, B. (2022). Applications of existentialism in psychotherapy and counseling. Journal of el hikma for philosophical studies. 10: 1636-1659.
Neff, K. D. (2003). Development and validation of a scale to measure self-compassion. Self and Identity. 2: 223-250.
Neff, K. D. (2023). Self-Compassion: Theory, Method, Research, and Intervention. Annual Review of Psychology. 74: 193-217.
Neff, K. D. (2024). What is Self-Compassion?. [Online]. Available : https://self-compassion.org/the-three-elements-of-self-compassion-2/. 3 March 2021.
Neff, K. D., Hseih, Y., & Dejitthirat, K. (2005). Self-compassion, achievement goals, and coping with academic failure. Self and Identity. 4: 263-287.
Pila, E., Brunet, J., Crocker, P. R. E., Kowalski, K. C., & Sabiston, C. M. (2016). Intrapersonal characteristics of body-related guilt, shame, pride, and envy in Canadian adults. Body Image. 16: 100–106.
Sick, K., Pila, E., Nesbitt, A., & Sabiston C. M. (2020). Does self-compassion buffer the detrimental effect of body shame on depressive symptoms?. Body Image. 34: 175-183
Solomon-Krakus, S., & Sabiston, C. M. (2017). Body checking is associated with weight- and body-related shame and weight- and body-related guilt among men and women. Body Image. 23: 80-84.
Stice, E., &. Whitenton, K. (2002). Risk factors for body dissatisfaction in adolescent girls: A longitudinal investigation. Developmental Psychology. 38(5): 669-678.
Webb, J. B., Fiery, M. F. &Jafari, N. (2016). You better not leave me shaming!”: Conditional indirect effect analyses of anti-fat attitudes, body shame, and fat talk as a function of self-compassion in college women. Body Image. 18: 5-13.
Workpoint Today. นศ.ปี 1 ดับเปลือยคาห้องน้ำ คาดกินยาลดน้ำหนักจนช็อก. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.shorturl.asia/zpFZ1. 25 พฤษภาคม 2561.
Zhu F., Zhang W., and Liu C. (2023). Association of self-compassion and body image among young breast cancer patients: mediating effect of body surveillance and body shame. Asia-Pacific Journal of Oncology Nursing. 10(4): 100199.