ผลการปรึกษากลุ่มโดยใช้ฐานคิดของทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อความฉลาดด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มโดยใช้ฐานคิดของทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อความฉลาดด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีคะแนนความฉลาดด้านสัมพันธ์กับผู้อื่นในระดับต่ำถึงปานกลางและมีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 16 คน และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1)แบบวัดความฉลาดด้านสัมพันธ์กับผู้อื่น จำนวน 26 ข้อ (แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ) มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .92 2)โปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง จำนวน 12 ครั้ง สำหรับกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า1) นิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดด้านสัมพันธ์กับผู้อื่นในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามสูงกว่าก่อนการทดลอง 2) นิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดด้านสัมพันธ์กับผู้อื่นในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การศึกษาไทย. ความหมายของครูในศตวรรษที่ 21. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.xn--12ca0ezbc4ai2ee1bzl.com/17/09/2022/. 17 กันยายน 2563.
กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา. จำนวนนิสิตปัจจุบันแยกตามปีที่เข้า. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https://reg.buu.ac.th/document/CurrStu/CurrALLLan10072563_1_2563.pdf
ชัชวีร์ แก้วมณี. (2557). รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 14 (1): 72-83.
ชวนพิศ เปรมกมล. (2562). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง ของ Carl R. Rogers ต่อการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 7 (2).
ณัฏฐนิช เจริญวรชัย. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อความสํานึกขอบคุณของนิสิตปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11 (1).
ธีรวรรณ ธีระพงษ์. แนวคิดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและการพัฒนามนุษย์. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2565.
สุนารี จุลพันธ์. (2558). การใช้โปรแกรมการปรึกษาด้านอาชีพแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในอาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3 (1).
Corey, G. (2011). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. Fullerton: California State University.
Gardner, H. (1983). Frames of Mind : The theory of multiple intelligences (2 ed.). Island: Fontana Press.
Gardner, H. (1999). Intelligence Reframed : Multiple Intelligences for the 21th Century. New York: Basic Books.
Kurt, S. (2020). Theory of Multiple Intelligences – Gardner. [Online]. Available: https://educationaltechnology.net
Lusiana, E. (2019). Counseling Service with A Person CenteredApproach to Improve Positive Self-Concept of Students. Advances in Social Science. Education and Humanities Research. 462