การศึกษาผลกระทบมูลค่าทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการธุรกิจขายของฝาก จังหวัดจันทบุรีในช่วงโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบมูลค่าทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการธุรกิจขายของฝากจังหวัดจันทบุรีและเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจขายของฝากจังหวัดจันทบุรีในช่วงหลังโควิด-19 เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยการใช้ PESTEL และ SWOT ผลการวิจัยกรณีศึกษาผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการ ร้อยละ 54.50 ใช้ทุนส่วนตัวในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวคนไทยช่วงสถานการณ์โควิด-19 ลูกค้าเข้าร้านน้อยลง ทำให้รายได้ลดลง 2 เท่า ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2 เท่า โดยผู้ประกอบการได้เพิ่มช่องทางการขายโดยการขยายฐานลูกค้า มีการประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ การลดรายจ่ายโดยการตัดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย บริหารจัดการหนี้สินโดยการจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย กรณีศึกษาลูกค้าที่ซื้อของฝาก พบว่า เหตุผลในการซื้อเพื่อเป็นของฝาก โดยซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วงก่อนและช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 มีการซื้อของฝากน้อยลง ผลการตัดสินใจซื้อสินค้าเป็นเรื่องคุณภาพสินค้า ราคาเหมาะสม มีช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ และมีกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย จากการวิเคราะห์ PESTEL และ SWOT พบว่าจำเป็นต้องให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รวมถึงประชาชนในการจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์ การลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ และการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อประคับประคองให้ผู้ประกอบการอยู่รอดและฟื้นตัวหลังเกิดภาวะวิกฤตของโควิด-19
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองข้อมูลธุรกิจ. พาณิชย์เปิด 10 ธุรกิจดาวเด่นยุคโควิด-19. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://dbd.go.th/.2563.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2564 (ภาคตะวันออก). [Qnline]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mots.go.th/news/category/741. 2565.
ณัชชา เจริญศรี. ผลกระทบโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.storehub.com/blog/covid-19. 2563.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. รายงานสภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2563. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Economic. 2564.
ปัญญณัฐ ศิลาลาย. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ปัญญณัฐ ศิลาลาย และบรรพต วิรุณราช. (2559). กลยุทธ์การจัดการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีสู่มหาวิทยาลัยพระปกเกล้ารำไพพรรณี. การเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 9(1): 311-340.
สำนักข่าวอิสรา. ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรน่า. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.isranews.org/ article/isranews-scoop/87713-repoer03-13.html. 2563.
สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2566-2570. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.chanthaburi.go.th/files/com_news_devpro/2022-12_b87deded14ae58a.pdf. 2565.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). บทที่ 7 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเฃื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://ittdashboard.nso.go.th/covid19 survey.php. 2563.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=14245. 2564.
สุภารัตน์ ทองปลิว และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ. (2564). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Modern Learning Development. 6(3), 107-122.
เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. เอกสารวิจัย เสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์.
Deloitte. Respond, Recover, Thrive: The Impact of COVID-19 on the Economy, a View from Thailand. [online]. Available: https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/th/Documents/ about-deloitte/th-about-economic-outlook-2020-covid-19-impact.pdf. 2020.
Economist Intelligence Unit. Sovereign debt crises are coming. [online]. Available: http://country.eiu.com/article.aspx?articleid=1499104133&Country=France&topic=Politics&subtopic=At+a+glance&oid=1669079150&flid=1099585293. 2020.
Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (2001). Transforming the balance scorecard from performance measurement to strategic management: Part I. Accounting Horizons. 15(1), 87-104.
Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (2010). Conceptual foundation of the balanced scorecard. Boston: Harvard Business School Press.
Lee, T. H. (2013). Influence analysis of community resident support for sustainable tourism development. Tourism Management. 34(1): 37-46.
Office of the UN Resident Coordinator. Thailand Economic Focus: COVID-19 will likely lead to severe job loss, with impacts already evident in the first quarter. [Online]. Available: https://thailand.un.org/en/52117-thailand-economic-focus-covid-19-will-likely-lead-severe-job-loss-impacts-already-evident. 2020.
Porter, M. E. (1996). What is strategy? Her ward Business Review. 74(6): 61-78.
Santander. Trade Markets, Thailand: Economic and Political Outline. [Online]. Available: https://santandertrade.com/en/ portal/analyse-markets/thailand/economic-political-outline. 2020.
Wilson, B. (2002). Innovation Curriculum. In the Second International Forum on Education reform: Key Factors in Effective Implementation. Bangkok: Photocopied. pp. 1-9.
World bank. The Global Economic Outlook During the COVID-19 Pandemic: A Changed World. [Online]. Available: https://www.worldbank.org/. 2020.
Yamane, T. (1973). Statistics; An Introduction Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.