อินโฟกราฟิก: การออกแบบเพื่อส่งเสริมการตลาดออนไลน์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนเป็นฐานข้อมูลในการออกแบบอินโฟกราฟิก 2) ออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกในภาคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพริกแกงบ้านเนินหย่อง หมู่ 8 ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จำนวน 5 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เกี่ยวกับเรื่องราวของชุมชนและผลิตภัณฑ์ และช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชาวบ้านเนินหย่องได้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรขึ้นมาเพื่อที่จะหาเวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน คือการตำพริกแกง มี 4 ประเภท ได้แก่ 1. พริกแกงเผ็ด 2. พริกแกงส้ม 3. พริกแกงกะทิ 4. พริกแกงป่า 2) อินโฟกราฟิกมีเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน 1. ชนิดของพริกแกง 2. ส่วนผสมแต่ละประเภท 3. วิธีการทำ 4. ประวัติความเป็นมาชุมชน การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับอินโฟกราฟิกพริกแกงของขุมชนบ้านเนินหย่องจะเล่าเรื่องโดยใช้ภาษาที่กระชับเข้าใจง่ายและชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ รวมถึงใช้รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการโฆษณา เช่น ประเภทวิทยาหน่วยคำ (Morphological Category) เพื่อบรรยายประเภทผลิตภัณฑ์พริกแกง และประเภทวากยสัมพันธ์ (Syntactical Category) เพื่อบรรยายกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยารัตน์ หัสโรค์ (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จีรภัทร์ พินิจสุวรรณ์ และคณะ (2563). จิตวิทยาในการเลือกลักษณะการเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อประชากรไทย.วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม. 2(1): 48-61.
ชัญญกัลย์ เลอ วอง ฮวน (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านเว็บไซต์ JD Central ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณิชมน หิรัญพฤกษ์ (2558). Basis อินโฟกราฟิก. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.
นพดล วศินสุนทร. (2553). เทคนิคการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต. [online] เข้าถึงได้จาก: http://johnnopadon.blogspot.com/2010.
นันทวดี วงษ์เสถียร (2563). การสร้างคำภาษาอังกฤษในสื่อโฆษณากลางแจ้งของไทย. [online] เข้าถึงได้จาก: https://so07.tci-thaijo.org/index.php/PasaaParitat/article/view/ 2563.
นุชรัตน์ นุชประยูร และคณะ. (2564). การพัฒนาสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิก แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย. รายงายวิจัยเสนอต่อสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี.
ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย และสุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ (2564). การออกแบบอินโฟกราฟิก: เทคนิควิธี เครื่องมือ และ การประยุกต์ใช้งานอินโฟกราฟิก Design: Techniques Tools and Applications. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 15(2): 1-14.
ภานนท์ คุ้มสุภา (2558). อินโฟกราฟิกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคการตลาดเชิงเนื้อหา. นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. 2(1): 155-171.
Caesary, A. et al. (2022). Language Style at Advertisement in CNN. Journal of English Literature and Linguistic Studies. 1(1): 1-12.
Carmack, R and Nabnian, S. (2001). Thai Cooking. Hong Kong: Periplus Editions.
Edwards, J. (2012). The Benefits of Infographics. [online] Available: http://www.brandjoe.com/ 2014.
Hwanji, S et al. (2020). Chandi Prigkang: Development Guidelines for the Product Standard of Curry Paste in Community. Journal of Social Science and Cultural. 4(2): 45-63.
Malichatur R. et al. (2020). Language Style Used in Cigarette Advertisement. [online] Available: http://inggris.sastra.um.ac.id/ 2020.
Mirabela, A., & Ariana, S. M. (2010). The stylistics of Advertising. Fascicle of Management and Technological Engineering (2), 183-188.
Seel, B. and Glasgow, Z. (1998). Making instructional design decisions (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice Hall.