นวัตกรรมโมดูลการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา โดยการศึกษาวิจัย/ทดลองโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ และสร้างแนวคิดหลัก ของโมดูลการเรียนรู้และทำการวัดประสิทธิภาพนวัตกรรมโมดูลการเรียนรู้ที่ได้ โดยการสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวคิดหลัก 3 แนวคิดหลัก คือ สมดุลทางกลและสมดุลความร้อน พลังงานและปฏิกิริยาพลังงาน การวิเคราะห์สเปกตรัม โมดูลการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 ระยะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดหลัก โมดูลการเรียนรู้ถูกนำไปทดสอบและประเมินประสิทธิภาพกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 37 คน และนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 63 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน โดยใช้แบบประเมินปรนัยจำนวน 10 ข้อ เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าโมดูลการเรียนรู้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ผลชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนน ก่อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม คือ 3.77 (S.D=1.869) และค่าเฉลี่ยของคะแนน หลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ กลุ่มตัวอย่าง คือ 9.63 (S.D=0.720)ประสิทธิผลด้านผลลัพธ์การเรียนรู้หลังใช้โมดูลโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์กับกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีผลลัพธ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 โดยในจำนวนนี้กลุ่มตัวอย่างที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ยอดเยี่ยมในอัตราร้อยละ 100 มากถึงร้อยละ 74 จากผลลัพธ์ที่ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโมดูลการเรียนรู้ดาวฤกษ์เกี่ยวกับโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์สามารถสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โชติ เนืองนันท์. (2564). ดาราศาสตร์และอวกาศ. จันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรีตราด.(2565) : [online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sesact.go.th/index.php/tl5254kz5570wm/. 20 กันยายน 2566.
Agan L. (2004). Stellar ideas: Exploring students’understanding of stars. Astron. Edu.Rev. 377-79.
astro.phys.sc.chula.ac.th.(2567). Main sequence [online]. เข้าถึงได้จาก: http://astro.phys.sc.chula.ac.th/ IHY/Stars/Main_sequence.htm. 14 มิถุนายน 2567.
Bailey J.M. (2006). Development of a concept inventory to assess students’ understanding and reasoning difficulties about the properties and formation of stars. Ph.D. Dissertation Theuniversity of Arizona, Tucson, AZ.
Bailey J.M, et al. (2012). Development and validation of the star propertiesconcept inventory Int.J.Sci.Edu. 34 2257-86.
Bardar E M, et al. (2007). Development and validation of the light and spectroscopy concept inventory Astron. Educ.Rev.5103-13.
Colantonio A, et al. (2017). A teaching module about stellar structure and evolution. Phys.Edu.52,1-13.
Finegold M and Pundak D (1990). Students’ conceptual frameworks in astronomy.Aust.Sci.Teach. J. 36 76-83.
Koul L (1984). Methodology of Education Research. New Delhi: Vani Education Book.
Kutner M.L. (2003). Astronomy a physical perspective. 2nd ed. Cambridge University press.155-208.
Moche D.L.(2015). Astronomy a self-teaching guide. 8th ed. John Wiley & Son, Inc, 121-142.
Yamane T (1970). Statistic: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons.