การเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากกระวานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup เพื่อพัฒนาธุรกิจฐานราก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากกระวาน เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup เพื่อสร้างสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค จำนวน 30 คน เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตชุมชนที่เหมาะสม จำนวน 3 รูปแบบ แล้วนำรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 รูปแบบนั้น สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ ผู้บริโภคโดยแบบสอบถาม จำนวน 400 ราย เพื่อคัดเลือกต้นแบบ Bio cup เพื่อนำไปสู่การสร้างเครื่องขึ้นรูปโมเดลต้นแบบ เพื่อทำการผลิต Bio cup ที่สามารถเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชนได้
ผลการวิจัย พบว่า ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย สามารถเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งกระวานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup ตามรูปแบบที่ต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการได้ ในรายละเอียดผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค จำนวน 30 ราย เลือกต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 รูปแบบ ตามเกณฑ์การเลือก คือ มีเอกลักษณ์ พกพาสะดวก จัดเก็บง่าย และเมื่อนำต้นแบบทั้ง 3 รูปแบบให้ผู้บริโภค จำนวน 400 รายเลือกพบว่าผู้บริโภคเลือกต้นแบบที่ 1 แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ในอัตรา ร้อยละ 25.25, ร้อยละ 12.75 และ ร้อยละ 62.00 ตามลำดับ โดยพบว่า (1) ผลรวมด้านการใช้งาน: มีเอกลักษณ์ พกพาสะดวก และจัดเก็บง่าย มีค่า = 4.01, S.D.=1.00ระดับพึงพอใจ : มากและ (2) ผลรวมด้านอัตลักษณ์ธุรกิจ: เพิ่มมูลค่าธุรกิจ ประทับใจสร้างความทรงจำ สื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชัดเจน
=4.42, S.D.=0.82ระดับพึงพอใจ : มาก ดังนั้นจากผลการวิจัยทั้งหมด พบว่า ต้นแบบที่ 3 สะท้อนสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน ที่สามารถเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากกระวาน เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup เพื่อพัฒนาธุรกิจฐานรากได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2564 (ภาคตะวันออก). [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mots.go.th/news/category/741. 2565.
จิราวรรณ เปรื่องปราชญ์ และวิพักตร จินตนา. (2561). ผลผลิตและการจัดการกระวานในระบบวนเกษตร บ้านตามูล ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการเกษตร. 36(1), 95-108.
เจนจิรา เงินจันทร์ สิริกาญจน์ ทวีพิธานันท์ ลักษมี งามมีศรี มานิตย์ สิงห์ทองชัย หิรัญ ศรีพินทุศร และ ภานุวัตน์ แตงนวลจันทร์. (2566). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากบัว บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน. 5(1):189-204.
ปัญญณัฐ ศิลาลาย ละเมียด ควรประสงค์ และวิภาดา เที่ยงทางธรรม. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ปี 2560. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13(3): 101-113.
ปัญญณัฐ ศิลาลาย. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาธูปฤาษีเป็นยากันยุงเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 9(2): 106-112.
ปัญญณัฐ ศิลาลาย. (2552). การเพิ่มมูลค่าของธูปฤาษีเพื่อทำเป็นโคมไฟและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชน.[online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=651&contrntID=90984.
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2563). รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "กระวาน".(ออนไลน์). แหล่งที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี.ตัวชี้วัดที่สำคัญของจังหวัด.[online]. เข้าถึงได้จาก : https://chanthaburi.nso.go.th/. 2566.
อรรถเจดีย์. (2550). พืชพื้นบ้าน-อาหารจันทบูร. โรงพิมพ์ต้นฉบับ: จันทบุรี.Ansoff’s matrix. เครื่องมือช่วยขยายธุรกิจ SME. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.peerpower.co.th/blog/ansoffs-matrix. 2023.
Dess, G.G. et al. (2010). Strategic management creating competitive advantage. 5th ed. USA. McGraw-Hill Irwin.
Dirsehan,T., & Kurtuluş,S. (2018). Measuring brand image using a cognitive approach: Representing brands as a network in the Turkish airline industry. Journal of Air Transport Management. 67(1): 85-93.
Pleshko L.P. & Heiens R.A. (2008). The contemporary product-market strategy grid and the link to market orientation and profitability. Journal of Targeting Management and Analysis for margeting. 16(2): 108-114.
Suvannin, W. (2020). The Value-Added Approach of Local Wisdom Products for Sustainability: A Case Study of Community Model in NongKhai Province. BU Academic Review, 19(1): 109-127.
Suvannin, W. (2016). Introduction to international business (cross-border trade). Bangkok, Thailand: Ramkhamhaeng University. (in Thai).
Tangjitjaroenkun, J. et al. (2020). Chemical compositions of essential oils of Amomum verum and Cinnamomum parthenoxylon and their in vitro biological properties. Journal of Herbmed Pharmacology. 9(3): 223-231.
Yamane, T. (1973). Statistics; An Introduction Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.