การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา

Main Article Content

สุชัญญา เยื้องกลาง
ธนดล ภูสีฤทธิ์
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบ พัฒนาและศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ 1) ศึกษาองค์ประกอบ2) พัฒนาและรับรองระบบการเรียนการสอน และ 3) ทดลองใช้ระบบฯกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครูคณิตศาสตร์ จํานวน 372 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 7 ท่าน และกลุ่มที่ 3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6จํานวน 35คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น แบบวัดทักษะต่าง ๆ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent  t-test)


ผลการวิจัยพบว่า
      1. ระบบการเรียนการสอนที่พัฒนามี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า2) กระบวนการ3) การควบคุม4) ผลลัพธ์5) ข้อมูลป้อนกลับองค์ประกอบกระบวนการ แบ่งออก 2ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการก่อนการเรียนการสอน และขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมี 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำเสนอสถานการณ์ปัญหา ขั้นสอน มี 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) ค้นหาปัญหา (2) วางแผน (3) ดำเนินการแก้ปัญหา (4 )การนําเสนอผลและตรวจสอบการแก้ปัญหา ขั้นสรุปความคิดรวบยอด ขั้นฝึกทักษะ ขั้นประยุกต์ใช้ และขั้นประเมินผล กระบวนการเกมิฟิเคชั่น ประกอบด้วย 1) แต้มสะสม (Points) 2) เหรียญตราสัญลักษณ์ (Badges)3) ลำดับขั้น (Levels) 4) ตารางอันดับ(Leaderboard) 5) ความท้าทาย (Challenges)
      2.  ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
      3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก
       

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)