ภูมิปัญญาการจัดการวิถีครัวเรือนและชุมชน กรณีบ้านนาแงะ ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ลัญจกร นิลกาญจน์

บทคัดย่อ

      ภูมิปัญญาการจัดการวิถีครัวเรือนและชุมชนกรณีบ้านนาแงะ ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้วิธีคิดวิเคราะห์การใช้ภูมิปัญญาการจัดการวิถีครัวเรือนและชุมชน กรณีบ้านนาแงะ ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ศึกษาปัจจัยในการพัฒนาภูมิปัญญาการจัดการวิถีครัวเรือนและชุมชน      ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 7 คน คือ บุคคลที่เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนที่มีประสบการณ์ในการใช้ภูมิปัญญาจัดการครัวเรือนและชุมชน  เก็บข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มปฏิบัติการ (Focus Group Discussions) วิเคราะห์จากปรากฏการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ (Focus group Analysis ) และวิเคราะห์ เชิงทฤษฎี
      ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการเรียนรู้การจัดการภูมิปัญญาการจัดการครัวเรือนและชุมชน มีวิธีคิดจากการเรียนรู้จากธรรมชาติด้วยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงและทดลองปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ  ผู้นำชุมชนที่เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ด้วยการนำภูมิปัญญามาจัดการความรู้ในกลุ่ม ร่วมกันคิด ร่วมกันทำและเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีปัจจัยสามเสาหลัก  คือ 1)  ผู้นำชุมชนเป็นบุคคลที่คนในชุมชนเชื่อมั่นเชื่อถือ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเสียสละเพื่อส่วนรวมที่ชัดเจน 2) ความเชื่อความศรัทธา เป็นแกนในการรวมกลุ่มกิจกรรมประเพณีและสร้างสรรค์พัฒนาจิตใจคนในชุมชน  3) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยการนำภูมิปัญญามาพัฒนาเป็นเพิ่มรายได้ พัฒนาอาชีพครอบครัวและชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เอกสารอ้าอิง

ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร.
(2557). การสังเกต 360 องศาเพื่อการ
วิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-
มิถุนายน นครศรีธรรมราช :
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช,
น.58-66.
ปัญญา เลิศไกร. (2562). การจัดการเรียนรู้
ภาษาไทยและประเพณีของชาว
มาเลเซียนในรัฐเปอร์ลิส. วารสารราช
พฤกษ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-
เมษายน นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,
น..42-50.
ปัญญา เลิศไกร ไมตรี จันทรา และ
วิเชียร ไทยเจริญ. (2561). การจัดการ
วัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารสังคม
มนุษย์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-
กรกฎาคม นครศรีธรรมราช : คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
น.104-116.


พัชรี ทองเรือง. (2561). การจัดการเรียนรู้
ชุมชน. วารสารสังคมมนุษย์ ปีที่ 8 ฉบับ
ที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม
นครศรีธรรมราช : คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช. น.42-54.
ไมตรี อินเตรียะ. (2561). วิเคราะห์แนว
การพัฒนาชุมชน. วารสารสังคม
มนุษย์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-
กรกฎาคม นครศรีธรรมราช : คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
น.1-17.
ไมตรี อินเตรียะ จิรสุดา ปลายยอด
บุญธิรัศมี วงศ์สถิต วิสุภี และ
สมพงษ์ แตงตาล.(2562).
หลักการจัดการสหกรณ์.วารสาร
สังคมมนุษย์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-
กรกฎาคม นครศรีธรรมราช : คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
น. 49-67.
สุดาวรรณ์ มีบัว. (2561). แนวการพัฒนา
ศักยภาพแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
นครศรีธรรมราช.วารสารสังคมมนุษย์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม- ธันวาคม
นครศรีธรรมราช : คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครศรีธรรมราช. น.73-88.
Ann R. J. Briggs, Marianne Coleman
and Marlene Morrison. (2012).
Research Methods in Educational,
Leadership and Management.
California : SAGE publication Inc.
David G. Myers. (2005). Social
Psychology. New York : Mc Graw
Hill. Ellen Berscheid and Pamela
Regan. (2005). The Psychology of
Interpersonal Relationships. New
York: Pearson
Gillian Symon and Catherine Cassell.
(2012). Qualitative Organizational
Research Core Methods and
Current Challenges. California :
Sage Publications Inc.
Gordon Rugg and Marian Petre. (2007).
A Gentle Guide To Research
Methods New York Mc Graw Hill.
Kolb, D.K. (1984). Experiential Learning
: Experience as the Source of
Learning and Development. New
Jersey : Prentice-Hall Inc.
Paul D. Leedy and Jeanne Ellis Ormrod.
(2015). Practical Research
Planning and Design. New York :
Pearson