ผลการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ Orff และ Dalcroze ที่มีต่อความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาด้านดนตรี ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ Orff และ Dalcroze และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ Orff และ Dalcroze
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัยปีที่ 3/1 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 26 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ Orff และ Dalcroze จำนวน 10 แผน และ 2) แบบวัดความสามารถทางพหุปัญญาด้านดนตรี และ 3) แบบวัดความสามารถทางพหุปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1.ความสามารถทางพหุปัญญาด้านดนตรี จากการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ Orff และ Dalcroze หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถทางพหุปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว จากการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ Orff และ Dalcroze หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราช มาร์เก็ตติ้งแอนด์โปรดักชั่น.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
เชษฐพงศ์ รอตฤดี, พิมลมาศ พร้อมสุขกุล, มนสิการ เหล่าวานิช และประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2563). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านตรีตามแนวการสอนของออร์ฟและดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรุ่งอรุณ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(1), น. 133-144.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา:หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา:หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2542). การสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวของคาร์ล ออร์ฟ(Orff-Schulwerk). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2559). ประโยชน์ของดนตรีต่อเด็ก (The Benefits of Music for Children). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 20(2), น. 13-24.
โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา. (2562). หลักสูตรปฐมวัยโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรปฐมวัยศึกษา พุทธศักราช 2560.นครราชสีมา: ผู้แต่ง.
วีรพล แสงปัญญา. (2562). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี สัณหฉวี. (2552). พหุปัญญาประยุกต์. กรุงเทพฯ: อุบล หล่อพัฒนาชัย.
Dalcroze, E. J. (1980). Rhythm, music & education. Hazell: Watson & Viney.
Giddens, M. J. (1993). A unity of vision: The ideas of Dalcroze, Kodaly and Orff and their historical development (Doctoral dissertation, University of Melbourne).
Michelaki, E. &Bournelli, P. (2016).The Development of Bodily-Kinesthetic Intelligence through Creative Dance for Preschool Students. Journal of Educational and Social Research, 6(3), pp. 23-32.
Mills, S. W. (2000). The Role of Musical Intelligence in a Multiple Intelligences Focused Elementary School (Doctoral dissertation, University of Central Florida).
Zachopoulou, E., Derri, V., Chatzopoulos, D. &Ellinoudis, T. (2003). Application of Orff and Dalcroze activities in preschool children: Do they affect the level of rhythmic ability?. The Physical Educator, 60(2). pp. 50-56.