การพัฒนาการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธี อาร์ อี เอ พี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธี อาร์ อี เอ พี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธี อาร์ อี เอ พี 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธี อาร์ อี เอ พี กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งจัดการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี จำนวน 44 คนและกลุ่มควบคุมซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 42 คน ระยะเวลาในการสอนคือ 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวม 21 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (\inline \dpi{80} \bar{X}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พีมีประสิทธิภาพไม่ตํ่ากว่า 70/70 คือ มีประสิทธิภาพ 73.03/72.36 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Development of Concept-Oriented Reading Instruction and REAP Strategy on Thai Critical Reading Ability for Education Faculty Undergraduate Students of Suratthani Rajabhat University

The objectives of this research were to compare: 1) Thai critical reading ability of undergraduate students before and after they were taught by Concept-Oriented Reading instruction and REAP strategy 2) the Thai critical reading ability of undergraduate students taught by Concept - Oriented Reading instruction and REAP strategy with those taught by regular instruction

The subjects were 84 undergraduate students of Faculty of Education, Suratthani Rajabhat University. These subjects were divided into two groups ; 44 students were experimental group and 42 students were control group. The duration of experiment was 7 weeks. The instruments for data collecting were critical reading test. The experimental instruments were lesson plan using-Oriented Reading instruction and REAP strategy and ordinary lesson plan. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation and t-test

The research findings were summarized as follows; 1) students had critical reading abilities higher than before experiment at .05 level of significance, and 2) students had critical reading abilities higher than students learning with conventional method at .05 level of significance

Article Details

Section
Articles