แนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมความตั้งใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มส่งออกสินค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทย

Main Article Content

อรุโณทัย พยัคฆพงษ์
ดุษฎี โยเหลา
วันเพ็ญ วรวงศ์พงศา

Abstract

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการส่งออกหรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมกลุ่มส่งออกสินค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทยที่ไม่เคยใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความตั้งใจใช้พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจ 2) เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีแนวทางในการรับมือและแก้ไขปัญหา อุปสรรคขณะใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และ 3) หาแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมความตั้งใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่เคยใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดความตั้งใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องโดยตรงกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าและระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7 ท่านพบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มส่งออกสินค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทยที่ไม่เคยใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความตั้งใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจมี 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม 4) การรับรู้ประโยชน์และ 5) แรงกดดันจากลูกค้าซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ยังเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมความตั้งใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อีกด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมความตั้งใจใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีเพียง 4 ประเด็นเนื่องจากเมื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการรับรู้ประโยชน์ก็จะมีเจตคติที่ดีเกิดขึ้น สำหรับแนวทางในการรับมือและแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเผชิญเมื่อใช้พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์สามารถพัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับปัจจัยการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นวิธีแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาที่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมักพบจากการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางสำหรับสอบถามวิธีแก้ปัญหาที่มักได้รับจากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

The Development Guidelines of the Intention to Use E-Commerce for Small and Medium Enterprise (SMEs): SMEs Exporters of Fashion Categories in Thailand

The purpose of the study which was 1) to study the opinions of public employees whose job duties are related to exporting or e-commerce and the reasons of intention to use e-commerce among Small and Medium Enterprises (SMEs) of fashion categories who have not intended to use e-commerce in the past, 2) to enable SMEs to coping with any obstacles which they will probably face after adopting e-commerce and 3) to explore the development of guidelines for the Intention to Use E-Commerce among SMEs who have never adopted e-commerce. It is advantageous to study this research because SMEs is not only a key driver for Thailand’s economy but generates national’s revenue also. Public sector and its associates foresee e-commerce as a technology that could boost exporting effectively because the operation cost is low and easy for promoting products/services. It can also reach customer quickly, build company’s image faster and increase sales volume. Qualitative research was applied in this study, 7 public employees whose job duties are related to exporting or e-commerce were interviewed by an in-depth interviewing method. The results showed that there are 5 issues the informants thought the SMEs intentions to use e-commerce are likely to develop. They are: 1) attitude toward e-commerce using 2) subjective norm 3) perceived behavioral control 4) perceived benefits and 5) customer pressure.

Article Details

Section
Articles