การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบฯ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย โดย 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการสอบถามผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 240 คน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบ สร้างรูปแบบฯ โดย 1) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) การศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 4 โรงเรียน และพัฒนารูปแบบฯ โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาของรูปแบบฯ ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยสอบถามความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มบริหาร งานวิชาการ จำนวน 240 คน ระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบฯ โดยร่างคู่มือการใช้รูปแบบฯ แล้วนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของ และแก้ไขปรับปรุงคู่มือการใช้รูปแบบฯ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ขอบข่ายงานวิชาการที่ต้องพัฒนา มี 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การบริหารหลักสูตร (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (3) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (4) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (5) การนิเทศการศึกษา และ 2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ มี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) การวางแผน (2) การดำเนินงาน และ (3) การประเมินผล
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กฯ ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกองค์ประกอบ
3. คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กฯ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการบริหารงานวิชาการ
The Development of Academic Administration Effectiveness for Small Schools under the Office of Secondary Educational Service Area Office in the Northeast Thailand
The objectives of this study were 1) to study the development of academic administration effectiveness model for small school under The Office of Secondary Educational Service Area Office in Northeast Thailand, 2) to check the model with empirical data, and 3) create handbook of the model. Mixed methods research of qualitative and quantitative. The study was conducted in 4 phases. The first phase was the study of framework research; step 1: to study documentation and research and step 2: to analysis needs assessment to develop the academic administration of small schools from small school administrators 240 people. The second phase was building and development model; step 1: to build the model with interview 9 experts and multi-case studies of 4 best practice schools, step 2: to develop the model by interview 5 experts to verify the authenticity and validity of the content form of monitoring the proper format. Finally, the third phase was suitability evaluation the model by using confirmatory from 240 academic assistant administrators.
The study revealed the following results.
1. The Development of Academic Administration Effectiveness Model for small school under The Office of Secondary Educational Service Area Office in Northeast Thailand has two components. First component was the analysis needs assessment to develop the academic administration were 5 issues, 1) Management curriculum 2) the learning process 3) research to improve the quality of education 4) developing innovative media and technology and 5) the supervision. The second component was the process of academic administration has three steps: 1) planning 2) doing and 3) evaluation.
2. The Development of Academic Administration Effectiveness Model for small school under The Office of Secondary Educational Service Area Office in Northeast Thailand was consistent with empirical data. Overall was the most appropriate level (X= 4.86, S.D. = 0.39), when considering the elements was in most every element.
3. Manual model of The Development of Academic Administration Effectiveness Model for small school under The Office of Secondary Educational Service Area Office in Northeast Thailand was suitable for use.