รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

อังสนา เข็มใคร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และศึกษาโรงเรียนดีเด่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมมุติฐานการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้าวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 464 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บุคลิกภาพด้านความมั่นคงทางอารมณ์ พลังอำนาจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมากที่สุดรองลงมาคือภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พลังอำนาจ และ บุคลิกภาพด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บุคลิกภาพด้านความมั่นคงทางอารมณ์ พลังอำนาจ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 66


A Causal Relationship Model of Female Directors’ Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Schools under Primary Education Service Area Offices in the North-Eastern Region of Thailand

This study aimed to develop and examine the developed causal relationship model of the female directors’ administrative factors affecting the effectiveness of schools under primary education service area offices in the North-eastern region of Thailand with the empirical data. The study was conducted in 2 phases. The first phase was the conceptual framework construction by a study of relevant documents and researches, an interview and a study of distinctive schools. The tools used in data collection were a semi-structured questionnaire. Data was then analyzed by content analysis. The second phase was the hypothesis examination. The samples comprised school directors, head teachers of academic affairs and head teachers of subject groups under primary education service area offices in the North-eastern region of Thailand in the academic year B.E. 2558, totally 464, selected by multi-stage random sampling. Statistics in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. LISREL 8.72 was employed in confirmatory factor analysis and the goodness-of-fit examination between the developed model and empirical data. The findings were as follows; 1). The developed causal relationship model consisted of 4 components, which were transformational leadership, personality trait of emotional stability, power and achievement motivation. 2). The developed model had a goodness-of-fit with the empirical data. Apart from this, achievement motivation had the overall influence on school effectiveness, followed by transformational leadership, power and personality trait of emotional stability. Transformational leadership, personality trait of emotional stability, power and achievement motivation could altogether explain school effectiveness at 66 percent.

Article Details

Section
Articles