การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด กับเกณฑ์ร้อยละ 70
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านซับยาง จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติที ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
A Study of Thai Reading Ability of Prathomsuksa 3 Students by SQ4R with Mind Mapping
The purposes of this research were 1) to study of Thai reading ability, 2) to compare of Thai reading ability before- and after the lesson, and 3) to compare of Thai reading ability of Prathomsuksa 3 students after the lesson, used SQ4R and mind mapping with the 70 percentage standard.
The samples were 13 of Prathomsuksa 3 students, in the academic year of 2014 at Bansubyang School. The research instruments consisted of the lesson plans of Thai reading by using SQ4R and mind mapping for six plans together with reading ability test. The data were analyzed by mean (X), percentage, standard deviation (S.D.) and t-test.
The results of the study of Thai reading ability of Prathomsuksa 3 students by SQ4R with mind mapping was higher than the one before studying by SQ4R with mind mapping, with statistical significance at .05 level and higher than the one set by the 70% criterion with statistical significance at .05 level.