คุณลักษณะของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามความคิดเห็นของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ฤทธี เทพไทอำนวย
ทูรย์ มีกุดเวียน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามความคิดเห็นของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน เป็นชายร้อยละ 87.90 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 96.77 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับคุณลักษณะของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แยกออกได้ 5 ด้าน คือ 1) ด้านวิชาการ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านความรู้ความสามารถในทักษะกีฬา 4) ด้านบุคลิกภาพ และ 5) ด้านคุณธรรมจริยธรรม

ผลการศึกษา คือครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เห็นว่านักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรมี คุณลักษณะด้านวิชาการ มากที่สุด 2 ข้อ คือ 1) มีความรู้ความสามารถ ด้านพลศึกษา (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.78) และ 2) ความรู้ความสามารถด้านนันทนาการ (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.75) ตามลำดับ คุณลักษณะข้ออื่นๆ อยู่ในระดับมากทั้งหมดโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด และมาก ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีคุณลักษณะที่มากที่สุด 3 ข้อ คือ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายวิธี (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.95) 2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความสนุกสนานและมีสาระ (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.84) และ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์และการวัดผลโดยใช้ผู้เรียนเป็นสำคัญ (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.81) ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะในข้ออื่นๆ อยู่ในระดับมากส่วนการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 5 ด้าน ผลการสำรวจไม่พบความแตกต่าง


Characteristics of Pre-Internship Physical Education Students Perceived by Health and Physical Education Teachers in Nakhon Ratchasima Educational Service Areas

The aim of this study was to investigate characteristics of pre-internship Physical Education students perceived by Health and Physical Education teachers under the Office of Nakhon Ratchasima Educational Service Areas. The samples were 372 teachers they were 87.90% of males, 96.77% of bachelor degree graduates. Data were collected using a questionnaire which consisted of five parts: 1) academic, 2) teaching and learning, 3) sport knowledge and skills, 4) personality and 5) morality.

Two items showed the results in the academic characteristics which were perceived at the “ery High” level: the sport knowledge and skills (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.78) and the knowledge and ability in entertaining (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.75), respectively. All other items were perceived at the “High” level. In the teaching and learning characteristics, there were 3 items perceived at the “ery High” level: 1) variation in teaching and learning techniques (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.95) 2) enjoyment and usefulness of teaching activities (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.84) and 3) the congruency between learning activities and the learning (\inline \dpi{80} \bar{X}=4.81).

The comparison between characteristics of pre-internship physical education students as perceived by Health and Physical Education teachers under the Office of Primary Educational Service Areas and those perceived by the teachers under the Office of Nakhon Ratchasima Secondary Educational Service Area were not found any differences in all the five aspects of investigation.

Article Details

Section
Articles