การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับบาร์โมเดล

Main Article Content

ราชนก บรรหาร
สิรินาถ จงกลกลาง
อิสรา พลนงค์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้โดยเป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการร่วมกับบาร์โมเดล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ะหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านหลักร้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัด
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

1. กรองทอง ไคริรี. (2554). แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้บาร์โมเดล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: เอ ทีม บิสชิเนส.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
3. กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดัดชั่น.
4. จันทรา ศิลปะรายะ.(2551). การปฏิบัติการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
5. ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2544). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6. ปิยะนันท์ งานจัตุรัส และสิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้โจทย์ปัญหาเศษส่วน ทศนิยม และทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค K-W-D-L. วารสารราชพฤกษ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 17(2), น. 80-87
7. ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
8. เรณู นุชบุญช่วย. (2556). รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้รูปแบบบาร์โมเดล กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบางสีกิ้ม. ระนอง: โรงเรียนบ้านบางสีกิ้ม.
9. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การจัดการการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
10. สุภัตรา ไชยเชษฐ์ และสิรินาถ จงกลกลาง. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่องอันตรายใกล้ตัว และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 12(2), น. 251-267
11. สุเมธกฤต นำลาภสุขพิพัฒน์. (2556). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้รูปแบบบาร์โมเดลสำหรับห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา. นครปฐม: โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา.
12. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
13. อัมพร ม้าคะนอง. (2547). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำรา และเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.
14. Ban Har, Y et al. (2008). Developing mathematical thinking in singaporeelementary schools. retrieved september 20, 2019, from http://archive.criced. tsukuba.ac.jp/data/ 2009/02/Yeap_Ban_Har.pdf
15. Cheong, Y. (2009). The model method in singapore. The mathematic teacher. 69: pp. 47-104.
16. Ferrucci, B. J., Kaur, B., Carter, J. A., & Yeap, B. (2008). Using a model approach to enhance algebraic thinking in the elementary school mathematics classroom. algebra and algebraic thinking in school mathematics, pp. 195-209.
17. Hsu, M. H., Lai, H. (2012). Re-examining the influence of trust on online repeat purchase intention: The moderating role of habit and its antecedents. decision support systems, 53(4), pp. 835-845.
18. Wong, S. (2009). Teaching mathematics. new york: harper & raw publishers.