โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้เวลาว่างของเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้เวลาว่างของเยาวชน ตามสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เวลาว่างของเยาวชน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 320 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ มี 6 ตอน ตอนละ 12 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า แบบจำลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรการตระหนักรู้กิจกรรมการใช้เวลาว่าง การตระหนักรู้ตนเองต่อการใช้เวลาว่าง ทักษะการใช้เวลาว่าง และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจเลือกกิจกรรม โดยที่ตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายการตัดสินใจเลือกกิจกรรม ได้ร้อยละ 81 และตัวแปรการตัดสินใจเลือกกิจกรรม มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้เวลาว่าง ตัวแปรการตระหนักรู้กิจกรรมการใช้เวลาว่าง การตระหนักรู้ตนเองต่อการใช้เวลาว่าง ทักษะการใช้เวลาว่าง และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้เวลาว่าง โดยส่งผ่านการตัดสินใจเลือกกิจกรรม โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการใช้เวลาว่างได้ร้อยละ 76
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). สภาวการณ์การจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ในบริบทประเทศไทย. สํานักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2563). พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของสังคม. วารสารสารสนเทศ, 19(2), น. 1-16.
วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายในสถานสงเคราะห์.วารสารคณะพลศึกษา, 17(1), น. 18-26.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561).รายงานประจำปี 2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มปท.
สำนักงบประมาณ. (2562). งบประมาณโดยสังเขปประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
Agnes, M. T. (2015). The Effect of Leisure Awareness on Attitude and Behavior of the Substance Abuser. Chicago USA: Loyola e Commons.
Anderson, L. S. (2020). Leisure education from an ecological perspective: inclusion and advocacy in community. Leisure, 44(3), pp. 353-373.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Corradino, S. (2021). A Leisure Education Program for People Living with Substance Use disorder TRO Student Leisure Education Contest. Seneca College: Toronto.
Dattilo, J. (2015). Positive Psychology and Leisure Education. Therapeutic Recreation Journal, 49(2), pp. 148-165.
Dieser, R. B. (2013). Leisure Education. Illinois. USA: Sagamore Publishing.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). Prentice Hall International. Tulsa: Petroleum.
Hutchinson S. (2012). Leisure Education: A New Goal for An Old Idea Whose Time Has Come. Pedagogía Social, 19, pp. 127-139.
Jung, S. (2020). The Effect of Leisure Activities on School Life Satisfaction in Teenagers. The Intermediation Effect of Happiness and Life Satisfaction International Journal of Advanced Culture Technology, 8(30), pp. 106-113.
Kline, R. B. (2016). Principles and practice of structural equation modeling (4th ed.). New York, NY: Guilford Press.
Mundy, J. (1998). Leisure Education. Champaign. Illinois. USA: Sagamore Publishing LLC.