การศึกษาทักษะจำเป็นของบัณฑิตไทยยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของเกี่ยวกับทักษะจำเป็นของบัณฑิตไทยยุค 4.0 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการ และอาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับทักษะจำเป็นของบัณฑิตไทยยุค 4.0 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน และรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแบบ จำนวน 540 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางจิตสังคมและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อทักษะจำเป็นของบัณฑิตไทยยุค 4.0 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 645 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเทคนิคสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะจำเป็นของบัณฑิตไทยยุค 4.0 ตามความคาดหวังของอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการ ได้แก่ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม และทักษะสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ 2) ความต้องการของนักศึกษาปริญญาตรีเกี่ยวกับทักษะจำเป็นของบัณฑิตไทยยุค 4.0 จำแนกตามลักษณะทักษะที่ควรได้รับการพัฒนา พบว่า Soft skill ได้แก่ ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะภาวะผู้นำและอิทธิพลทางสังคม Hard skill ได้แก่ ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะการวิจัย และทักษะอาชีพ 3) ผลการทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกัน (2 = 9.62, df= 5, p-value= 0.09, RMSEA= 0.04, SRMR 0.01, CFI= 1.00, NFI=1.00, GFI=1.00)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา สร้อยสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), น. 486-500.
กาญจนา จันทร์พราหมณ์. (2563). ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), น. 425-436.
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม และสุรีพร อนุศาสนนันท์. (2560). รูปแบบแนวคิดทางทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวกับ ปัจจัยเชิงสาเหตุของการเรียนรู้แบบนำตนเอง. วารสาร HR Intelligence, 12(1), น. 125-140.
จิรกานต์ สิริกวินกอบกุล. (2562). บัณฑิตแห่งอนาคต ผลิตผลที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย. เอกสารประกอบโครงการสัมนาวิชาการอุดมศึกษาเรื่อง The Smarter Future of Higher Education. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษกร วัฒนบุตร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษ ที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(1), น. 87-94.
ปรัชญาพร ทองประสิทธิ์, สักรินทร์ อยู่ผ่อง และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง (2563). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้าในธุรกิจบริการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(2), น. 97-108.
พิศสมัย อรทัย และศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล. (2554). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการจัดการศึกษาของหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตตามการรับรู้ของบัณฑิตพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), น. 463–476.
มนตรี อินตา. (2562). SOFT SKILLS: ทักษะที่จำเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), น. 153-167.
มนัสวี ธนะปัด, วิไลลักษณ์ ลังกา และอรอุมา เจริญสุข. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: การวิเคราะห์เส้นทางแบบกลุ่มพหุ. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(1), น. 88-98.
รังสรรค์ โฉมสาย. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเองของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), น. 309-317.
สินธวา คามดิษฐ์. (2559). “ประเทศไทย 4.0 การศึกษาไทย 4.0” การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2561). คุณลักษณะบัณฑิตที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไทย ตามแนว “ประเทศไทย 4.0” วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), น. 404-416.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรณิชชา ทศตา และกชพร ใจอดทน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัย นครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 26(2), น. 64-78.
Bandura, A. (1986). Social Foundation of thought and action. A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Cobo, C. (2013). Mechanisms to identity and study the demand for innovation skill in world-renowned organizations. On the Horizon, 21(2), pp. 96-106.
Creswell, J. W. (2007). Qualitative Inquiry Research Design. (2th ed.). California: Sage.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Jin, X., Jiang, Q., Xiong, W., Pan, X. & Zhao, W. (2022). Using the Online Self-Directed Learning Environment to Promote Creativity Performance for University Students. Educational Technology & Society, 25(2), pp. 130-147.
Pender, N. J., Mardaugh, C. L. & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice. (5th ed.). New Jersey: Upper Saddle River.
Salleh, U. K. M., Zulnaidi, H., Rahim, S. S. A., Zakaria, A. R., & Hidayat, R. (2019). Roles of Self-Directed Learning and Social Networking Sites in Lifelong Learning. International Journal of Instruction, 12(4), pp. 167-182.
Schwab, K. (2019). The Global Competitiveness Report 2019. Geneva Switzerland: World Economic Forum.
Schwab, K. (2020). The Future of Jobs Report 2020. Geneva Switzerland: World Economic Forum.