การศึกษาความหลากหลายทางบัญชีของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ตามทัศนะของผู้ทำบัญชี และอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

นงลักษณ์ เหรียญทอง
ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย
พัชราภรณ์ ใจบุญมา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาความหลากหลายทางบัญชีของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนของผู้ทำบัญชี และอาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนะของผู้ทำบัญชี และอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีต่อความหลากหลายทางการบัญชีของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน 2) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเตรียมความพร้อมของนักบัญชีเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 17 คน ได้แก่ ผู้ทำบัญชีและอาจารย์มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และสังคม มีผลต่อการพัฒนาทางการบัญชี และการวิจัยด้านความรู้ ความสามารถของนักบัญชี ประกอบไปด้วยความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ศิลปะ วรรณกรรมและวัฒนธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชีจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านธุรกิจเพื่อสามารถนำไปปฏิบัติควบคู่กับการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้ และพฤติกรรมที่เป็นระบบ มีความคิดรอบคอบ ความรับผิดชอบ สามารถเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ในทาง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักบัญชีใช้สารสนเทศเป็นตัวช่วยในการคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูล นักบัญชี จำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เพื่อให้ธุรกิจสามารถ ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพหุภาคี สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ. (2554). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี
ความสำคัญอย่างไร. สืบค้น 21 มีนาคม 2559, จาก
https://ttmemedia.wordpress.com/2011/07/13/ aec-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การสื่อสารระหว่างบุคคล. คนที่ 1-17. (2558, ตุลาคม). ผู้ทำบัญชีและอาจารย์มหาวิทยาลัย จังหวัด
สมุทรปราการ [บทสัมภาษณ์].

กุสุมา ดาพิทักษ์. (2556). นักบัญชีที่องค์กรธุรกิจต้องการ “เก่ง + ดี” [เอกสารอัดสำเนา]. ปทุมธานี:
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จินตนา ชัยยวรรณาการ. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การปรับเปลี่ยนส่วนราชการเป็นองค์การมหาชน
ศึกษากรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทัศนีย์วรรณ ภูผ่าน. (2555). การตระหนักถึงผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อผู้จัดทำบัญชีใน
จังหวัดเลย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นงลักษณ์ ศิริพิศ, สุชญา มานวกุล, และปฐมาภรณ์ คำชื่น. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของ
นักบัญชีไทยกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
กรุงเทพธนบุรี.

นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา สถานประกอบการจังหวัดสระบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ลัดดา หิรัญยวา. (2555). นักการบัญชีไทยกับความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชี ตามกรอบ
มาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน
สุนันทา.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร, และธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2554). การเตรียมความพร้อมทางด้านวิชาชีพบัญชี
ของกลุ่มประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(ฉบับพิเศษ), 31–45.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2556). จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2553. ข้อบังคับสภาวิชาชีพ
บัญชี ฉบับที่ 19. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2557). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2557. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552). นิยามคำศัพท์ตามมาตรฐานการบัญชี. สมาคมนัก
บัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

สุพัตรา เนื่องวัง. (2556). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของบริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
จังหวัดตาก. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.