การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ในท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับ

Main Article Content

รวมพล จันทศาสตร์
ดร.สุรัตน์ จันทองปาน
ไชยยศ ไชยมั่นคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขนส่งสินค้าตู้
คอนเทนเนอร์ในท่าเรือแหลมฉบัง 2) เพื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนของการขนส่ง
สินค้าตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือแหลมฉบัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ท่าเรือ
แหลมฉบัง ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การดำเนินการด้านการขนส่งตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป จำนวน 5
บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัยคือ แบบสอบถาม เพื่อกำหนดน้ำหนักความสำคัญของ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ท่าเรือแหลมฉบัง วิเคราะห์ข้อมูลโดย
อาศัยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytics Hierarchy Process Technique - AHP) ผลการวิจัย
พบว่า ลำดับความสำคัญของรูปแบบการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ 1)
ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 2) ระยะเวลาในการขนส่ง 3) ความปลอดภัยในการขนส่ง 4) ความถี่ในการขนส่ง
ทั้งนี้ รูปแบบการขนส่งทางเรือมีความสำคัญที่สุดโดยคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 54 รองลงมา คือการ
ขนส่งโดยทางรถไฟ ร้อยละ 25 และทางถนน ร้อยละ 21 ตามลำดับ ดังนั้น อาจสรุปได้ว่ารูปแบบการ
ขนส่งทางเรือเหมาะสมที่สุดในการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้เมื่อศึกษาเรื่องน้ำหนัก
ของสินค้าในวิธีการขนส่งที่แต่ละวิธี โดยจัดลำดับความสำคัญจากน้ำหนักมากไปหาน้อย พบว่า การ
ขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังจังหวัดสงขลา การขนส่งทางเรือมีค่าน้ำหนัก 0.479 การขนส่งทางราง
มีค่าน้ำหนัก 0.269 และการขนส่งทางถนนมีค่าน้ำหนัก 0.252

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนิต โสรัตน์. (2551). 3PL จัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ. Logistics Digest, 4(43), 31-32.

นฤเบศวร์ ทองแดง. (2552). การเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ภายในประเทศ ทาง
ถนน ทางราง และชายฝั่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วรรณา ชีวานุกูล. (2547). การศึกษาต้นทุนค่าขนส่งการส่งออกสินค้ายางพาราจากภาคใต้ไปประเทศ
ญี่ปุ่น : กรณีศึกษาท่าเรือสงขลาและท่าเรือปีนัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

ศิริพร ถิตย์ประเสริฐ. (2558). ศึกษาแนวทางในการลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษาบริษัทนำเข้า
ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน). (2560). กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น
Analytic Hierarchy Process: AHP. สืบค้น 22 มีนาคม 2560, จาก
http://www.dti.or.th/download/150319174753_3ahp4.pdf

สุระ พราหมณ์รักษา, และกมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2557). การประเมินทางเลือกรูปแบบการ
ขนส่งสำหรับกลุ่มสินค้าอะไหล่ยานยนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย).