อิทธิพลของข้อมูลทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้จัดการโรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ศรีศรินทร์ สุขสุทธิ
ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้จัดการโรงงานนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการแนวคิดทฤษฎีใช้ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการบัญชี 6 ประการ ได้แก่ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ความเข้าใจกันได้ ความทันต่อเวลา การเปรียบเทียบกันได้ และการพิสูจน์ยืนยันได้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้จัดการโรงงานจำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางบัญชี 3 ประการ ได้แก่ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความทันต่อเวลา และการพิสูจน์ยืนยันได้ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารงาน และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) คุณภาพข้อมูลทางบัญชีส่งผลต่อความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญกับการบริหารงานของผู้จัดการโรงงานในภาพรวมมีสำคัญระดับมาก ทุกด้าน 3) ความสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญที่ด้านประสิทธิผลของการบริหารงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก และข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญระดับมากที่สามารถช่วยในการบริหาร  4  ด้าน คือ  การวางแผนงบประมาณ การวางแผนการผลิต การช่วยให้บริหารโรงงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการตัดสินใจในการผลิตในเรื่องกำลังการผลิต ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 

Article Details

How to Cite
สุขสุทธิ ศ., & อธิรัฐจิรชัย ณ. . . (2020). อิทธิพลของข้อมูลทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้จัดการโรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 12–25. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2020.2
บท
บทความวิจัย

References

ทวิชชัย อุรัจฉัท. (2554). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการบริหารสินเชื่อของธนาคารออมสินในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยราชพฤกษ์:นนทบุรี.

วิมลพรรณ เลาหเจริญยศ. (2553). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีของผู้บริหารของธุรกิจในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลาพูน. (การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สภาวิชาชีพบัญชี. (2558). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558). กรุงเทพฯ

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2551). หลักการบัญชีบริหารแนวพื้นฐานและการประยุกต์สำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สุรีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนาและคณะ. (2555). ความสำเร็จของการปฏิบัติทางบัญชีบริหารและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเซรามิกในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมษายน – กันยายน.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2539). การบริหารเชิงกลยุทธ์ฉบับมาตรฐาน.กรุงเทพฯ.วิสิทธิ์พัฒนา.

Cronbach, L. J. 1970. Essentials of Psychological Test. New York: Harper Collins.

Drucker, P.E. (1995). The Post Capitalistic Executive in P.E. Drucker (ed.) Management in a Time of Great Change New York: Penguin.

Florin-Constantin, Dima. (2012) "The Users of Accounting Information and Their Needs." JEL Classification: M41-accounting . 200-204.

Hall, Matthew. (2010). Accounting information and managerial work. Accounting, Organizations and Society, 35.3 : 301-315.

Robbins, Coulter. (2003). Management (7th ed. ed.): Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ

Socea, Alexandra-Daniela. (2012). Managerial decision-making and financial accounting Information. Social and Behavioral Sciences 58, 47–55.

Yamane, Taro. 1970. Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs.New Jersey : Prentice-Hall.