การใช้สื่อการสอนของครูในสถานศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ราตรี อรรถาสุด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้สื่อการสอนของครูในสถานศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้เสื่อการสอนของครูในสถานศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จําแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ


คร ที่ทํางานในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 จํานวน 9 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 579 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิชนิดไม่มีสัดส่วนได้กลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สเตที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าความเสี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างทําการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ (Scheffe's Method)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้สื่อการสอนของครูในสถานศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร มีการดําเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการกําหนดการตอบสนองผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย สูงสุด และด้านการวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียนค่าเฉลี่ยต่ําสุด และ 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการ ใช้สื่อการสอนของครูในสถานศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จําแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีสภาพการใช้สื่อการสอนของครูในสถานศึกษาในภาพรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ด้านการใช้สื่อ การกําหนดการ ตอบสนองผู้เรียน และการประเมินผล เมื่อทําการทดสอบรายคู่ตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาขนาดกลางและเล็ก มีค่าเฉลี่ยของสภาพการใช้สื่อการสอนของครูในสถานศึกษามากกว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่ ทั้งภาพรวมและในด้านการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ด้านการกําหนด วัตถุประสงค์ ด้านการเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอํานาจการบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2557, จาก http://kormor.obec.go.th/page004.html

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2557, จาก http://www.finance.psu.ac.th/practice/national%20education_2542_edit%202
54596202553.pdf

จุไรภรณ์ มีใย. (2553). สภาพปัญหา และความต้องการใช้สื่อของครูโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การศึกษาค้นคว้าศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

นฤมล มุลา. (2542). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

บุญชม ศรีสะอาด, และบุญส่ง นิลแก้ว. (2545). การอ้างอิงกลุ่มประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาสารคาม, 3(11), 21-25

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น รัตนา กาญจนพันธุ์. (2556). การบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์
และสติวติโอ

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์

สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2545). แนวทางการบริหารงานจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครการบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ : สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.(2557). โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 30 ตุลาคม 2557, จาก http://www.bangkokducation.in.th

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2557). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับ สถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554) สมุทรปราการ:

ออฟเซ็ท พลัส . (2553). บทสรุปผู้บริหาร. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2558, จาก http://203.144.163.91/onesqa/th/Report/index.php?System ModuleKey-produ ct&input MinistryID=36&inputTypeSumReport=2&inputSumReport=3&province &inputborder=&inputArrange=2&inputSchoolName= Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.