แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเตรียมบัณฑิต

Main Article Content

ศศกร สร้อยศรี
ดร.ไพโรจน์ เกิดสมุทร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเตรียม บัณฑิต และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเตรียมบัณฑิต จังหวัดปทุมธานี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างมาจากประชากร คือ ครูโรงเรียนเตรียมบัณฑิต จํานวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (loc) อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test และ F-test สําหรับทดสอบสมมติฐานความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ย


ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเตรียมบัณฑิตในภาพรวม มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการได้รับการยอมรับนับถือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความสําเร็จในการทํางาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะ ของงานที่ปฏิบัติ และด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่การงาน และเปรียบเทียบแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเตรียมบัณฑิตโดยการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ครูโรงเรียนเตรียม บัณฑิตที่มีเพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานใน ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนครูโรงเรียนเตรียมบัณฑิตที่มีอายุ ระดับการศึกษา และช่วงชั้นที่สอน แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมแตกต่างกันด้วยระดับนัยสําคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรายุทธ แก้วเนย. (2556), แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนรักษ์ เจ้าราม อําเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, วิทยาลัยทองสุข)

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

ประเสริฐ ฉัตรชัยศักดิ์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสํานักราชแลขาธิการ : ศึกษากรณีแรงจูงใจ. (รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ, กระทรวงการต่างประเทศ)

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2552). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิสซัพพลายเชน

พรวิสา บัวทอง. (2557), แรงจูงใจในการทํางานของพนักงาน บริษัท เมก้าไลฟ์ ไซแอนซ์ จํากัด. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต , วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก).

รุ่งทิวา อินต๊ะใจ. (2553), แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โรงพยาบาลปิยะเวท จํากัด (มหาชน), (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

โรงเรียนเตรียมบัณฑิต. (2550), ทําเนียบครูประจําปี 2558. ปทุมธานี: ผู้แต่ง.

วชระภูมิ เบญจโอฬาร. (2552). การบริหารงานก่อสร้าง, นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). การพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: ธนวัชการพิมพ์

ศิริวรรณ บํารุงศิริ. (2548). คุณภาพชีวิตการทํางานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์)

เสมโภชน์ พรรณรายน์, นรินทร์ เข็มเพชร, และวุฒิชัย ทวีชื่นสกุล. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทํางานของพนักงานบริษัทแกลึกโชสมิท โคล์น ประเทศไทย จํากัด. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

อุมาภรณ์ บุตรน้ําเพชร. (2556). แรงจูงใจในการทํางานของพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ใน พระบรมราชูปถัมภ์)

Cronbach, Lee Joseph (1970). Essentials of psychological testing. New Yoric Harper & Row.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snydeman, B. (1959). The motivation to work. New York McGraw-Hill Book.