การรับรู้การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จริยา ศรีจรูญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้ และความตระหนักของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้และความตระหนักของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ประชากรคือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีการซื้อ การใช้หรือเคยใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ตามสูตรการคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่างสำหรับประชากรที่มีขนาดไม่จำกัดจำนวน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย
สถิติไคสแควร์


ผลการศึกษา พบว่าผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีการซื้อ การใช้หรือเคยใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ มีการรับรู้ว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และรับรู้ว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดปริมาณขยะ แต่ไม่ทราบว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีการรวมห่อหลายชิ้นเป็นวิธีการหนึ่งของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทราบว่าการเลือกซื้อหรือใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมต้องไปซื้อที่ร้านขายเฉพาะเท่านั้นไม่สามารถซื้อได้ทั่วไป อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีการซื้อ การใช้หรือเคยใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมีความตระหนักต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในระดับมาก ด้านที่ตระหนักมากที่สุด คือ รัฐบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนทั้งผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่มีการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมและสนับสนุนผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับความสัมพันธ์ของการรับรู้และความตระหนักต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พบว่ามีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น
การรับรู้ว่าการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำเป็นวิธีหนึ่งของกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ว่าการเลือกซื้อหรือใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมต้องไปซื้อที่ร้านขายเฉพาะเท่านั้นไม่สามารถซื้อได้ทั่วไป ที่ไม่สัมพันธ์กับความตระหนักต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉบับย่อ. สืบค้น 18 กันยายน 2558, จาก
http://www.pcd.go.th/public/Publications/print_waste.cfm?task=ecodesign

คงศักดิ์ ดอกบัว. (2556). ทิศทางอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกและแนวโน้มของโลก. สืบค้น 20 ตุลาคม 2558, จาก http://www.thaiplastics.org/content_attachment/attach/2013081.9.pdf.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา บางท่าไม้, และชัยสิทธิ์ นวลจันทร์. (2552). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(1-2), 56-71.

ณัฐกนก รัตนางกูร. (2552). การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2553). แบบจำลองพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุษรา สร้อยระย้า. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศิริวรรณ โพธิ์ทอง. (2558). การใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม สาขาการจัดการโลจิสติกส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2558, จาก http://goo.gl/EOg04F.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สถิติประชากรและบ้าน-จำนวนประชากรแยกตามอายุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 20 มกราคม 2557, จาก
http//:stst.dopa.go.th/stat/statnew/upstar_ago.php.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์. (2557, 5 พฤศจิกายน). ปธ.สภา กทม.เซ็นคำสั่ง-แบ่งพื้นที่รับผิดชอบตรวจสอบติดตาม. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2557, จาก
www.thairath.co.th/content/461318.

องค์การตลาดเพื่อการเกษตร. (2558). ไบโอชานอ้อย บรรจุภัณฑ์เพื่อโลกเรา. สืบค้น 14 ตุลาคม 2558, จาก http://www.mof.or.th/mof_data/CSR/earth_heat/Bio-Sugarcane.pdf.

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2558). ปัจจัยด้านเศรษฐกิจการเมืองของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย. สืบค้น 14 ตุลาคม 2558, จาก http://library.fes.de/pdf-files/bueros/thailand/10134.pdf.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Harper and Row.