สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1

Main Article Content

รุจิรา วิริยะหิรัญไพบูลย์

บทคัดย่อ

ษาในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 1 รวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว ปีการศึกษา 2557 จำนวน 159 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารโรงเรียนในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ
ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.13 โดยด้านที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านการบริหารบุคคล มีค่าเฉลี่ย 4.30 รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานทั่วไปมีค่าเฉลี่ย 4.17 ด้าน การบริหารงานงบประมาณมีค่าเฉลี่ย 4.12 และด้านการบริหารงานวิชาการมีค่าเฉลี่ย 3.94 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว ดังนี้ ด้านบริหารงานวิชาการ ควรดำเนินการพัฒนาตามแผนปฏิบัติงาน ติดตาม ตรวจสอบ หลักสูตรมีการปรับเปลี่ยนตามนโยบายให้เหมาะสมกับผู้เรียน ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรมีการตรวจสอบติดตามการใช้งบประมาณให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้านบริหารงานบุคคล การพัฒนางานด้านบุคคล ดำเนินการแต่งตั้งบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้ตรงกับความสามารถ ส่งเสริมการพัฒนา ความรู้
บุคลากรอยู่เสมอ ด้านบริหารงานทั่วไป มีการปรับภูมิทัศน์สภาพแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมเดช สีแสง. (2546). คู่มือบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) ฉบับสรุป. นครสวรรค์: หจก.ริมปิงการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2557). แผนปฏิบัติงาน. นครสวรรค์:ม.ป.พ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุพัตรา ปทุมคนารักษ์. (2552). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอทับปุต เขตพื้นที่การศึกษาพังงา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).