ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน : การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

นเรนทร์ แก้วใหญ่

บทคัดย่อ

การพัฒนาที่ยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายสร้างสังคมที่มีความสุข ยุติธรรม สนับสนุนนวัตกรรมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกสภาพที่จะเกิดขึ้นในโลก สังคมของชุมชนจะเป็นสังคมที่เท่าเทียม มีผู้นำชุมชนที่เป็นที่พึ่งของส่วนรวม โดยสมาชิกในชุมชนมีการเรียนรู้ตลอดเวลา มีความรักและเข้าใจปัญหาและบริบทของชุมชน ร่วมมือกันนำพาและพัฒนาชุมชนให้เจริญงอกงามต่อไปในทุกสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของโลก รัฐบาลไทยสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยให้สถานศึกษาเป็นองค์กรสำคัญในการสร้างสมาชิกในชุมชน นโยบายด้านการศึกษา ที่ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามหลักการที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ สนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทำงานกับผู้อื่นได้ และปลูกฝังให้รักและเข้าใจชุมชนมองเห็นคุณค่าและปัญหาของชุมชน และพร้อมที่จะพัฒนาชุมชนของตนให้รอดพ้นจากสภาพปัญหา
ต่าง ๆ เพื่อความยั่งยืนของชุมชน โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นสถานศึกษาที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะผลิตบัณฑิตเข้าสู่สังคมโดยตรง การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเรียนรู้แบบคู่ขนานระหว่างความรู้ด้านวิชาการที่เป็นสากลและความรู้ท้องถิ่นในชุมชน ดังนั้นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาต้องอาศัยชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้ของนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาควรให้
ความสำคัญกับชุมชนที่ใกล้ชิดนำมาร่วมกันพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ต่อการเข้าเป็นสมาชิกของชุมชน ทุกสถาบันอุดมศึกษามีชุมชนที่ใกล้ชิดซึ่งแต่ละชุมชนประกอบด้วยแหล่งการเรียนรู้มากมายที่สามารถประยุกต์ให้เข้ากับหลักสูตรการเรียนรู้แบบคู่ขนานดังกล่าวได้ สถาบันอุดมศึกษาจึงควรที่จะเป็นผู้รวบรวม บริหารจัดการ สนับสนุนแหล่งการ
เรียนรู้ทั้งหลายในชุมชนที่ใกล้ชิดตน ดังนั้นการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาจะเกิดได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด : แนวทางสู่การปฏิบัติ เอกสารชุดปฏิรูปการเรียนรู้ลำดับที่ 2 โครงการปฏิรูปการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมสามัญศึกษา. (2544). คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ: อัลฟ่ามิเล็นเนียม.

ประเวศ วะสี. (2536). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิภูมิปัญญา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน = Sustainable developmentกรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ม.มหิดลจัดพิธีลงนามความร่วมมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน 16 มหาวิทยาลัยชั้นนำร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาไทย.สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
https://www.mahidol.ac.th/th/latest_news58/Sustainable-University/susu.
pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2547). แหล่งเรียนรู้ในยุคปฏิรูป. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สุวรรณา ประณีตวตกุล. (2557). ความยั่งยืนของทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ [เอกสารประกอบการสอน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Barbier, E.B., & Pearce, D.W. (2000). Blueprint for a Sustainable Economy. Earthscan,London: n.p.

Jegede, O.J. (1995). Collateral learning and the eco-cultural paradigm in science andmathematics education in Africa. Studies in Science Education, 25(1), 97- 137.

Project everyone company. (2015). The Gobal Goals for Sustainable Development.สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.globalgoals.org

Sirinan Manui. (2557). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://forever2u2.blogspot.com.