บทบัญญัติบางประการ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา

Main Article Content

วีระพงศ์ เชาวลิต

บทคัดย่อ

บทบัญญัติบางประการของของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา เป็นการศึกษาถึงบางประเด็นที่ผู้เขียนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญ (Constitution) ที่ถือได้ว่าเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญต้องมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่มีความสอดคล้องต่อระบบรัฐสภาซึ่งเป็นรูปแบบของการปกครองโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีความเท่าเทียมกัน ทั้งสององค์กรล้วนได้รับอำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน ซึ่งต้องมีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันในกระบวนการปกครองระหว่างกันอยู่ตลอด โดยความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของอำนาจดังกล่าว แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องต่อระบบรัฐสภา ประการแรก บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร ประการที่สอง บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประการที่สาม การใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกนายกรัฐมนตรี


ดังนั้น บทความเรื่อง บทบัญญัติบางประการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภาจึงมุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจถึงบทบัญญัติบางประการของรัฐธรรมนูญที่ต้องมีความสอดคล้องต่อหลักการแห่งระบบรัฐสภา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิจบดี ชินเบญจภุช. (2555). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จุลกิจ รัตนมาศทิพย์. (2551). วิถีฎีกามหาชนเล่ม 1. กรุงเทพฯ: หลอแอนดิ้งพลับลิซชิ่ง.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายรัฐธรรมนูญ แนวคิดและประสบการของต่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2560). นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2561). หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย. วิญญูชน.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. วิญญูชน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). กฎหมายมหาชน : วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: วิญญูชน.

บุศรา เข็มทอง. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2558). สภาที่สอง ในระบบรัฐสภา หน้าต่างโลก : The Knowledge Windows . สืบค้น 10 สิงหาคม 2562 จาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/ Image/b/win43.pdf

พัฒนะ เรือนใจดี และมารุพงศ์ มาสิงห์. (2561). “ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561.

ภูมิ มูลศิลป์. (2559). “แนวคิดเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไทยในรอบทศวรรษ”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559. P28-30.

มานิตย์ จุ่มปา. (2559). หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ. นิติธรรม.

ศิริรัตน์ อยู่ฉัตร. การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภากับการเปลี่ยนแปลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เอกสารวิชาการหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หน้า 4,5

สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์ และปณณดา อิงคุลานนท์. (2560). หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิวัฒน์ สุดสาว. (2554). การยุบสภาผู้แทนราษฎร:ดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนินิบัญญัติ. สืบค้น 1 กันยายน 2562 จาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/think/think18.pdf