สถานการณ์และรูปแบบความร่วมมือในการจัดทำฝายชะลอน้ำ บ้านกำแพงเซา หมู่ที่ 2 ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นในการจัดทำฝายชะลอน้ำบ้านกำแพงเซา หมู่ที่ 2 ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) รูปแบบความร่วมมือในการจัดทำฝายชะลอน้ำบ้านกำแพงเซา เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยวิธีเชิงปริมาณมีประชากรเป้าหมายได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 217 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ริเริ่มทำฝายชะลอน้ำ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ที่ไปร่วมโครงการฯ และปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำตามธรรมชาติ รวมทั้งสิ้น 16 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา        ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นในการจัดทำฝายชะลอน้ำบ้านกำแพงเซา ในด้านสำรวจภูมิประเทศ กำหนดประเภทและรูปแบบ กำหนดวัสดุที่ใช้ วางแผนตำแหน่งและสร้างฝายชะลอน้ำ ขั้นตอนสร้างฝายและตัวฝาย โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.24, sd.=0.71) และ 2) รูปแบบความร่วมมือในการจัดทำฝายชะลอน้ำบ้านกำแพงเซา หมู่ที่ 2 ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย (1) ต้นทุนชุมชน การนำทุนด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และทุนมนุษย์ที่มีความสามารถมาใช้ (2) พลังจิตอาสา ค้นหาศักยภาพชุมชน ร่วมแรง และร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำสำเร็จได้ (3) การสร้างแรงบันดาลใจ ทำงานแบบมีส่วนร่วม เช่น ระดมความคิด และดำเนินการร่วมกัน (4) วิถีประชาธิปไตย แสดงความคิดเห็น และทำงานเป็นทีม (5) การกระจายอำนาจ แบ่งหน้าที่กันทำตามความถนัด (6) ชุมชนสัมพันธ์ สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน (7) องค์ความรู้ชุมชน รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้และจัดการร่วมกัน (8) ถอดบทเรียน เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและนำความรู้มาปรับใช้ และ (9) ฟื้นฟูชุมชน ด้านอาชีพเกษตรกรรม และกักเก็บน้ำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ

Article Details

How to Cite
แขน้ำแก้ว เ. . (2020). สถานการณ์และรูปแบบความร่วมมือในการจัดทำฝายชะลอน้ำ บ้านกำแพงเซา หมู่ที่ 2 ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 29–40. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2021.3
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนุรักษ์ธรรมชาติและผืนดิน. (2563). ฝายชะลอน้ำ อีกหนึ่งวิธีรักษาธรรมชาติ. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.landfortomorrow.org/ฝายชะลอน้ำ-อีกหนึ่งวิธี/

ขวัญนภา สุขคร. (2557). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำฝายชะลอน้ำ กรณีตัวอย่าง ชุมชนบ้านกิ่วท่ากลาง-ท่าใต้ ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 255-267.

ชัยรัตน์ พรหมสุวรรณ. (2562, 2 ธันวาคม). ผู้ใหญ่บ้าน [บทสัมภาษณ์].

ดำรง โยธารักษ์, นิพนธ์ รัตนคช, สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์, อรณุชา อยู่สกุล, พุธวิมล คชรัตน์, อัสมา พิมพ์ประพันธ์, พนิตา อำลอย, และ

ประภาพร ปิยะพิสุทธิศักดิ์. (2562). การบริหารจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต: กรณีศึกษาฝายมีชีวิตบ้านยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(1), 158-166.

ปริญญา นิกรกุล, พระครูวิโชติสิกขกิจ, และพระครูอุเทศธรรมสาทิศ. (2561). การพึ่งพาป่าชุมชน ของชุมชนบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 104-116.

วรวิทย์ พิลัยหล้า, และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. (2554). การจัดการฝายต้นน้ำของเกษตรกรหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยนในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร, 27(3), 275-281.

วีณา วาระกุล, และดวงใจ พุทธวงศ์. (2558). การประเมินโครงการสร้างฝายชะลอน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 4(2), 91-101.

สิทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

โอเคเนชั่น. (2558). ฝายมีชีวิตไชยมนตรี...การบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเองของชุมชน. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/a083/2015/11/22/entry-1

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.