แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ของกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน X และ เจเนอเรชัน Y

Main Article Content

สุธินี ธีรานุตร์
ชวลีย์ ณ ถลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดสินค้าท่องเที่ยวไทยผ่านสื่อออนไลน์ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าท่องเที่ยวไทยผ่านสื่อออนไลน์ และ 3) เสนอแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้าท่องเที่ยวไทย ผ่านสื่อออนไลน์ของกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน X และเจเนอเรชัน Y เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 384 คน ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน X และ Y มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ประเภทตั๋วโดยสารเครื่องบินมากที่สุด ส่วนใหญ่ซื้อผ่านช่องทางเว็บไซต์ของผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าท่องเที่ยว มีความเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ผ่านสื่อออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านการจัดรวมผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านความเข้าใจ ด้านคู่ค้า/พันธมิตร ด้านสินค้า ด้านพนักงาน และด้านราคา ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการควรทำการส่งเสริมด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และพัฒนาด้านสินค้า ด้านพนักงานให้มีมาตรฐานการบริการเหนือกว่าคู่แข่ง เพื่อสามารถกำหนดราคาขายที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งและสร้างความน่าสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
ธีรานุตร์ ส., & ณ ถลาง ช. . (2020). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ของกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน X และ เจเนอเรชัน Y. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2021.1
บท
บทความวิจัย

References

พิมลพรรณ ณ สมบูรณ์. (2558). คุณลักษณะเว็บไซต์ การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ และภาพลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลือกซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวออนไลน์ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ละเอียด ศิลาน้อย. (2558). วิธีวิทยาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บางกอกบลูพริ้นต์.

วฤตดา วรอาคม. (2557). 5 อินไซต์เจเนอเรชันซี. สืบค้น 7 สิงหาคม 2563, จากhttp://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/591770

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2559). แนวทางการศึกษาและเครื่องมือการมอนิเตอร์สื่อออนไลน์. สืบค้น 13 สิงหาคม 2563, จาก https://www.researchgate.net/publication/314255395

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2561. สืบค้น 8 สิงหาคม 2563, จากhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและการตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2055-2068.

เสรี วงษ์มณฑา. (2554). กลยุทธ์การตลาด วางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

Blackwell, R., Miniard, P., & Engel, J. (2006). Consumer Behavior (10th ed.). Ohio: Thomson South-Western.

Bleier, A., & Eisenbeiss, M. (2015). The importance of trust for personalized online advertising. Journal of Retailing, 91(3), 390-409.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River,NJ: Person Prentiec-Hall.

Park, S., Fesenmaier, D. R., & Zach, F. (2016). Online purchase of travel products. Travel and Tourism Research Association: Advancing Tourism Research Globally. In 2015 TTRA international conference. Retrieved June 19, 2019 from https://scholarworks.umass.edu/ttra/2010/Oral/19/

Pereira, H. G., Salgueiro, M., & Rita, P. (2016). Online purchase determinants of loyalty: The mediating effect of satisfaction in tourism. Journal of Retailing consumer Services, 30, 279-291.