การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออกในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ผลที่ได้รับจากการศึกษาจะนำไปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลักคือเกษตรกรหรือประธานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 15 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลที่ได้รับนำมาตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการแข่งขันมีความสำคัญและมีผลต่อความสามารถจัดการนวัตกรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วง 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มมีความสำคัญและมีผลต่อความสามารถจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วง 3) ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมมีความสำคัญและมีผลต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกร ประโยชน์ที่ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้พร้อมรับต่อภาวะฉุกเฉินด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ คุณชมภู. (2554). การสร้างมูลค่าราคาให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน. (รายงานการค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2561-2564. (2563). ข้อมูลพืชเศรษฐกิจจังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้น 8 สิงหาคม 2562, จาก http://www.cco.chachoengsao.go.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). สืบค้น 8 สิงหาคม 2562, จาก http://www.nesdb.go.th

Huang, Par Alin. (2012). The effect of human resource practices on firm performance in Chinese Smes : an empirical study in service sector. (Degree of Philosophy, UNIVERSITE DU QUEBEC).

Lawson, B., & Samson, D. (2011). Developing innovation capability in organizations: A dynamic capabilities approach. International Journal of Innovation Management, 5, 377.

Porter, M. E. (1990). The competitive advantage of nations. London: Macmillan.

Santos, J. B., & Brito, L. A. L. (2012). Toward a subjective measurement model for firm performance. Brazilian Administration Review, 9(6), 95-117.

Zhou, K. Z., & Li, C. B. (2010). How strategic orientations influence the building of dynamic capability in emerging economies. Journal of Business Research, 63(3), 224-231.