การพัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะการสอบภาษาอังกฤษ ALC

Main Article Content

จิตติ สัมภัตตะกุล
พีระพงษ์ พรมจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะสำหรับการสอบภาษาอังกฤษ ALC (American Language Course) 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการสอบภาษาอังกฤษ ALC ของนักเรียนนายเรือ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือที่ใช้โปรแกรมฝึกทักษะสำหรับการสอบภาษาอังกฤษ ALC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนนายเรือ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมฝึกทักษะการสอบภาษาอังกฤษ ALC ที่พัฒนาขึ้นและแบบประเมินคุณภาพของโปรแกรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) คะแนนผลการสอบภาษาอังกฤษ ALC ของนักเรียนนายเรือก่อนเรียนและหลังการใช้โปรแกรม 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือที่ใช้งานโปรแกรมฝึกทักษะการสอบภาษาอังกฤษ ALC สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า การประเมินคุณภาพของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี คะแนนผลการสอบ ALC หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน 85.45/64.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือที่ใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สัมภัตตะกุล จ. ., & พรมจันทร์ . . พ. (2020). การพัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะการสอบภาษาอังกฤษ ALC . วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 55–67. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2021.5
บท
บทความวิจัย

References

นโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ. (2562). นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้น 2 มกราคม 2563, จากhttps://www.nmd.go.th/website/Documents/policy_navy62/combined62.pdf

พรทิพย์ เกิดถาวร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 139–148.

วันเฉลิม พูนใจสม, อรปรียา คำแพ่ง, และฆัมภิชา ตันติสันติสม. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่อง ไอพีวี6 สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม, 5(2), 40–50.

ศูนย์ภาษา กองทัพเรือ. (2561). เอกสารคะแนนสอบ ALC ของนักเรียนนายเรือ [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: กรมยุทธศึกษาทหารเรือ.

สุพัชชา คงเมือง, และดวงพร โสมสุข. (2563). การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 18-28.

สุรชาติ อาจทรัพย์, ศิรประภา ขันคำ, และอภิภู สิทธิภูมิมงคล. (2558). ประสิทธิผลการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Moodle สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. Journal of Professional Routine to Research, 2(1), 81–89.

Best, John W. (1981). Research in education (3rd ed.). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.