การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์และเรียนรู้ด้วยรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคต ตามแนวคิดของกิลฟอร์ด

Main Article Content

รัชนีภรณ์ คล่องแคล่ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งก่อนและหลังที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษากลุ่มนี้ ก่อนและหลังที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของกิลฟอร์ด 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผล ของนักศึกษากลุ่มนี้  ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์กับเรียนรู้ด้วยรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของกิลฟอร์ด เป็นการวิจัย แบบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 40 คน ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยการจับฉลาก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษาภายหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ เท่ากับ 12.16 และ 18.31 ตามลำดับ 2) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษาภายหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของกิลฟอร์ด สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนรู้ตามแนวคิดของกิลฟอร์ด เท่ากับ 11.58 และ 17.98 ตามลำดับ 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงเหตุผลของนักศึกษาหลังจากเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์เท่ากับ 18.31 และคะแนนเฉลี่ยตามแนวคิดของกิลฟอร์ด เท่ากับ 18.24 พบว่า ไม่แตกต่างกันด้วยนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choangchan, A. (2009). Kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n phư̄a songsœ̄m khwāmsāmāt nai kān khit kǣ panhā yāng mī wičhāranayān klum sāra kānrīanrū witthayāsāt khō̜ng chan prathomsưksā pī thī hā [The Development of Instructional Model for the Enhancement of Problem Solving with Critical Thinking Abilities in Science of Fifth Grade Students]. (Doctoral Thesis, Graduate School of Silpakorn University).

อารยา ช่ออังชัญ. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Guilford, J P. (1967). Personality. New York: McGraw-Hill.

Guilford, J P. (1967). The nature of intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co.

Khemmani, T. (2001). Witthayākān dān kān khit. [Science of Thought]. Bangkok: The Master Group Management Company Limited.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปเมเนจเม้นท์ จำกัด.

Khemmani, T. (2016). Rūpbǣp kān rīan kānsō̜n : Thāng lư̄ak thī lāklāi. [Instructional Model : The Wide Choices ]. Bangkok: Active Print.

ทิศนา แขมณี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์.

Lowriendee, W. (2007). Theknik læ yutthawithī phatthanā thaksa kān khit kānčhatkān rīanrū thī nēn phū rīan pen samkhan. [Techniques and strategies for thinking skills development and learner centered instructional strategies]. Nakorn Pathom: Silpakorn University Sanam Chandra Palace Printing.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Pongphoka, S. & Songserm, U. (2015). Kānphatthanā khwāmsāmāt nai kān khit kǣ panhā khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī hok dōi kānčhatkān rīanrū dūai theknik kān kǣ panhā ʻanākhot rūam kap phǣnphang khwāmkhit. [The development of problem solving thinking ability of mutthayomsuksa6 students by future problem solving technique and mind mapping]. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(2).1223-1237.

ศศิธร พงษ์โภคา และ อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. Veridian E–Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1223-1237.

Sroingern, C. (2009). Kānphatthanā khwāmsāmāt nai kān khīan chœ̄ng sāngsan klum sāra kānrīanrū phāsā Thai khō̜ng nakrīan chan prathomsưksā pī thī sām dōi chai kitčhakam sin nēkti. [The Development of Thai Language Creative Writing Ability of Prathom Suksa 3 Students by Synectics Activities]. (Master’s thesis in Education, Dhonburi Rajabhat University).

ชัยวาฤทธิ์ สร้อยเงิน. (2552). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมซินเนคติคส์. (วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).

Srisakorn, S. (2004). Kānphatthanā khwāmsāmāt nai kān khit kǣ panhā khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sō̜ng thī čhatkān rīanrū dōi chai theknik kān khit kǣ panhā ʻanākhot. [The develop of problem solving ability of eight grade student taught by future problem solving technique]. (Master’s Thesis in Curriculum and Advisor, Silpakorn University).

สุกัญญา ศรีสาคร. (2547). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Thangkabutra, T. (2016). Kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n bǣp phasomphasān dōi chai phǣnphang thāng panyā phư̄a phœ̄mphūn khwāmsāmāt nai kān khit yāng mī wičhāranayān samrap naksưksā parinyā bandit. [Development of a Model of Blended Learningusing Project-Based Learning to Increasecritical Thinking Ability for Undergraduate Students]. (Doctoral’s Thesis, Chulalongkorn University Graduate School).

ธีรวดี ถังคบุตร. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้แผนผังทางปัญญาเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Uarattanaraksa, H. (2536). Kānphatthanā khwāmkhit sāngsan khō̜ng nakrīan chan prathomsưksā pī thī hā dōi chai rūpbǣp kān khit kǣ panhā ʻanākhot tām nǣokhit khō̜ng thō̜rǣ . [The development of creative thinking of prathom suksa five students by using torrance's future problem solving model]. (Master’s Thesis in Education Department of Phychology, Chulalongkorn University).

หงส์สุนีย์ เอื้อรัตนรักษา. (2536). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).