ศึกษาเครื่องมือประเมินการให้บริการสวนสาธารณะ ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

Main Article Content

บุษกร รังษีภโนดร
ธนวรรณ พงษ์แตง
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือประเมินการให้บริการสวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก พบว่า การสร้างเครื่องมือประเมินการให้บริการตามแนวคิดที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบบริหารสวนสาธารณะ รวมถึงเทคนิคการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานสวนสาธารณะโดยอาศัยแบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้งานควบคู่ไปกับระดับการให้ความสำคัญต่อข้อพิจารณาในแต่ละข้อถาม วิธีการทั้งหมดพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ ดร.โนริอากิ คาโน่ ซึ่งเป็นผู้พัฒนารูปแบบการประเมินศักยภาพของสินค้าและบริการผ่านทางความสัมพันธ์ของความคาดหวังและความพึงพอใจต่อรายละเอียดด้านต่าง ๆ ของสินค้านั้น โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานผ่านทางชุดคำถาม 2 ลักษณะ ได้แก่ ชุดคำถามที่ถามถึงความจำเป็นขององค์ประกอบหนึ่ง โดยมีตัวอย่างคำถามว่า หากไม่มีสิ่งนั้นในตัวสินค้าแล้วผู้ใช้งานจะรู้สึกลำบากในการใช้งานมากเพียงใด (Dysfunctional Question) และชุดคำถามที่ถามถึงความพึงพอใจต่อองค์ประกอบนั้น โดยมีตัวอย่างคำถามว่า หากมีสิ่งนั้นในตัวสินค้าแล้วผู้ใช้งานจะรู้สึกพอใจในการใช้งานมากเพียงใด (Functional Question) และตัวชี้วัดสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงคุณภาพและสภาพของสวน ได้แก่ 1) รัศมีบริการ 2)โครงข่ายสัญจรภายใน 3) กิจกรรม 4) ทัศนียภาพและมุมมอง 5) การออกแบบเพื่อมวลชน 6) สุขาภิบาล 7) ความปลอดภัย และ 8) การประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Cooper Marcus, Clare. (1998). People Places: Design Guidelines for Urban Open Space. (2nded). Revised Edition. New York : John Wiley & Sons.

Division of Academic and Planning. (2019). Kāntittām læ pramœ̄nphon phǣn phatthanā thō̜ngthin ( Phō̜.Sō̜. 2561 - 2565 ) khō̜ng thētsabān ืnakhō̜n Phitsanulōk Phō̜.Sō̜. 2562 . [Monitoring and evaluation of Local Development Plan (2018-2022) Office of the Phitsanulok Municipality in 2019 ] . Phitsanulok : Office of the Phitsanulok Municipality.

กองวิชาการและแผนงาน. (2562) การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)ของเทศบาลนครพิษณุโลก พ.ศ.2562. พิษณุโลก : สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก.

Donald J. Molnar & Bernie Dahl. (2003). Anatomy of a park : the essentials of recreation area planning and design. (3rd ed).Prospect Heights, Ill.: Waveland Press.

Kornblum, William. (1997). Market Research and Park Use Parks as Community Places. Boston : Urban Parks Institute’s annual conference.

Low, Setha, Taplin, Dana, and Scheld Suzanne. (2005). Rethinking Urban Parks: Public Space & Cultural Diversity. Austin : The University of Texas Press.

Office of the Phitsanulok Municipality. (2019). Phǣn phatthanā thētsabān ืnakhō̜n Phitsanulōk sī pī ( 2561 - 2564) [Development Plan of Phitsanulok Municipality for 4 Years (2018-2021)]. Phitsanulok : Office of the Phitsanulok Municipality.

สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก. (2562). แผนพัฒนาเทศบาลนครพิษณุโลกสี่ปี (2561 -2564). พิษณุโลก : สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก.

Preiser, Wolfgang F.E. (1988). Post-occupancy evaluation. New York : Van Nostrand Reinhold.

Sysadmin. (2014). The Center for Universal Design (CUD). North Carolina University. Retrieved from http://www.ncsu.edu/ncsu/design/cud/