การบูรณาการเทคนิค PERT/CPM เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา เส้นทางไปท่องเที่ยววัดบางหัวเสือ

Main Article Content

รวมพล จันทศาสตร์
ยุวดี เปรมวิชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข่ายงานการเดินทางและเส้นทางวิกฤตในการเดินทางไปท่องเที่ยววัดบางหัวเสือโดยใช้ระเบียบวิธีวิกฤต (Critical Part Method : CPM)   2)  ศึกษาความน่าจะเป็นของการเดินทางภายในเวลาที่กำหนดโดยใช้เทคนิคการประเมินผลและการทบทวนโปรแกรม (Program Evaluation and Review Technique : PERT) 3) เปรียบเทียบหาเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทางไปท่องเที่ยววัดบางหัวเสือ ใช้ข้อมูลการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยววัดบางหัวเสือโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ใน 4 เส้นทาง เส้นทางละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน คือ เส้นทางถนนเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย 9 ถนนเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย 13 ถนนเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย 19 และถนนเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิค CPM และ PERT  ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการใช้ CPM  พบว่าทั้ง 4 เส้นทางเป็นเส้นทางวิกฤต 2) ผลการใช้ PERT พบว่าความน่าจะเป็นที่จะเดินทางภายในเวลาที่กำหนดของ 4 เส้นทาง ได้ ร้อยละ 97.44, 60.64, 99.66 และ 99.97 ตามลำดับ 3) เส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทางไปท่องเที่ยววัดบางหัวเสือ คือ ถนนเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย 21 เวลาเฉลี่ยในการเดินทางคือ 25 นาที ความน่าจะเป็นของเวลาการเดินทางคิดเป็นร้อยละ 99.97

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chareonwongsak, K. (2019). Krō̜p nǣokhit kānphatthanā mư̄ang læ chonnabot: “RUUR Models". [Conceptual of Urban Development: “RUUR Models"]. Retrieved January 12, 2021, from

https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648073

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, (2562). กรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองและชนบท: “RUUR Models" สืบค้น 12 มกราคม 2564 จาก

https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648073

Division of Technical Services and Planning, Poochaosamingprai Municipality. (2019). Phǣn phatthanā thō̜ngthin (Phō̜.Sō̜. 2561-2565). [Local Development Plan (2018-2022)]. Samutprakhan: Poochaosamingprai Municipality.

กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). สมุทรปราการ: เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย.

Junsuwan, S. (2007). Kān wikhro̜ chœ̄ng parimān.[Quantitative Analysis]. Songkhla: Songkhla Rajabhat University.

สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์. (2550). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

Kittimasak, K. (2012). Nǣothāng kānphatthanā lǣng thō̜ngthīeo chœ̄ng watthanatham : kō̜ranī sưksā chumchon wat bāng hūa sư̄a ʻamphœ̄ phra pradǣng čhangwat Samut Prākān. [Strategies to Develop Cultural Tourism: A Case study of Wat Banghuasue Community, Prapradang District, Samutprakan Province]. (Master thesis, Dhonburi Rajabhat University).

กิตติมศักดิ์ คุ้มวงษ์.(2555). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนวัดบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).

Nithikarnjanatharn, J. & Sawang-ngam, T. (2018). Kān khūapkhum khō̜ng ngān dūai theknik PERT / CPM bō̜risat thī ʻō thī čhamkat (mahāchon) kō̜ranī sưksā : kān tittang rabop khwāmreo Fiber to the x ( FTTx ) thī sathānī kāt NGV pō̜ tō̜ thō̜ čhō̜ Pathum Thānī. [The Time Delay Control of the Technique PERT/CPM TOT Public Company Limited Case Study: The Project to Install Speed Fiber to the x (FTTx) at the NGV Stations PTT Pathum Thani]. SWU Engineering Journal (2018), 13(1), 13-26.

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร และ ธนวัฒน์สว่างงาม. (2561). การควบคุมเวลาล่าช้าของงานดวยเทคนิค PERT/CPM บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา : การติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตความเร็ว Fiber to the x (FTTx) ที่สถานีกาซ NGV ปตท. จ.ปทุมธานี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2018). 13(1). 13-26.

Phukpoo, W. ()2019). Pratyā hǣng kānthō̜ngthīeo dōi chumchon. [Community Based-Tourism]. Retrieved December 15, 2020, from https://www.randdcreation.com/content/5112/ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน

วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น 15 ธันวาคม2563 จาก https://www.randdcreation.com/content/5112/ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Ratanasuwongchai, N. (2011). Konlayut kānphatthanā kānthō̜ngthīeo chœ̄ng watthanatham. [Cultural Tourism Development Strategies]. Manutsayasat Wichakan Journal, Kasetsart University, 18(1), 31-50.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 18(1), 31-50.

Secretariat of the Cabinet (Thailand). (2014). Mati khana ratthamontrī 12/11/2557. [Cabinet Resolution on November 12, 2014]. Retrieved January 4, 2021, from http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99311113.

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). มติคณะรัฐมนตรี 12/11/2557 สืบค้น 4 มกราคม 2564 จาก http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99311113.

Siwnus, N. & Benjaoran, V. (2020). Kānprīapthīap kān pramān raya wēlā kitčhakam ngān kō̜sāng bǣp PERT dōi klum tūayāng bō̜risat samāchik sāman khō̜ng samākhom thurakit rap sāng bān [Estimated Duration Comparison of Construction Activities by PERT Sample : Ordinary members of Home Builder Association]. The 25th National Convention on Civil Engineering. July 15-17 2020, Chonburi, Thailand.

นครินทร์ ซิ่วนัส และ วชรภูมิ เบญจโอฬาร. (2563). การเปรียบเทียบการประมาณระยะเวลากิจกรรมงานก่อสร้างแบบ PERT โดยกลุ่มตัวอย่างบริษัทสมาชิกสามัญของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2563 จ.ชลบุรี.