การพัฒนารูปแบบจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ ในเมืองต้องห้ามพลาดพลัส จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

นิพล เชื้อเมืองพาน
พิมพ์ชนก มูลมิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์กลไกการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการวิจัยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ในเมืองต้องห้ามพลาดพลัส จังหวัดนครปฐม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เลือกมาแบบเจาะจง โดยทำการตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีแบบสามเส้า และกำหนดคุณสมบัติเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และมีส่วนเกี่ยวข้องการกับบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ชุมชนเกาะลัดอีแท่น ชุมชนปฐมอโศก และชุมชนห้วยม่วง ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน สมาชิกชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชนได้แก่ผู้ประกอบการด้านที่พัก และผู้ประกอบการด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มในชุมชน นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนและอุตสาหกรรมไมซ์ ตัวแทนพัฒนาชุมชนจังหวัด และตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐมชุมชนละ 13 คน รวมทั้งสิ้น 52 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์กลไกการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ของแต่ละชุมชนมีโครงสร้างการบริหารงานที่แตกต่างกัน ตามขนาดของชุมชน 3 ระดับ ได้แก่ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก 2) พัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ ในเมืองต้องห้ามพลาดพลัส จังหวัดนครปฐม ได้ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวโดยโครงสร้างตามชุมชนขนาดใหญ่ ได้แก่ ชุมชนเกาะลัดอีแท่น รูปแบบการท่องเที่ยวโดยโครงสร้างชุมชนขนาดกลาง ได้แก่ ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ และ รูปแบบการท่องเที่ยวโดยโครงสร้างการท่องเที่ยวชุมชนขนาดเล็ก ได้แก่ ชุมชนห้วยม่วง และชุมชนปฐมอโศก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chomphunoi, S. (2017). Nǣothāng kānphœ̄mmūnkhā kānthō̜ngthīaochumchon kranīsưksā chumchonbānchīang čhangwatʻudō̜nthānī. [The study of an additional value for a community based tourism, the case study of Ban Chiang, Udon Thani]. Bangkok: National Defence College.

สมชาย ชมภูน้อย. (2560). แนวทางการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชนกรณีศึกษาชุมชนบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

Chumnanchar, B. (2021). Readiness of Thailand for incentive tourism Hub. Southeast Bangkok Journal, 7(1), 100-114.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2564). ประเทศไทยกับความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 100-114.

Isarangkun Na Ayutthaya, J. (2018). Maiphư̄achumchon Mitimaikhō̜ng kānčhatkān prachoom Thamātō̜iʻotthurakitchumchon phư̄akhwāmyangyư̄n thǣčhing. [MICE for the community”, a new dimension of “meeting management” that extends the community business for true sustainability]. Retrieved September 3, 2021, from https://www.cdd.go.th/content

จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2561). ไมซ์เพื่อชุมชน” มิติใหม่ของ “การจัดการประชุม” ที่มาต่อยอดธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนแท้จริง. สืบค้น 3 กันยายน 2564, จากhttps://marketeeronline.co/archives/70401

Leksuma, P. and Sangraksa, N. (2021). Nǣothāng kānphatthanā sakyaphāp kānčhatkān thurakitHaibō̜rikānsathānthīČhatprachoomnaičhangwat nakhō̜npathom. [The guidelines for the potential development of meeting venue business in Nakhon Pathom province]. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 15(1), 92-110.

ประพนธ์ เล็กสุมา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการธุรกิจให้บริการสถานที่จัดประชุมในจังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 92-110.

Machu, W. (2022). Kānphatthanā sakyaphāpmư̄angMai khō̜ngčhangwatsurātthānī sūkānpen mư̄angmaikhō̜ngprathedthai. [A potential development of Surat Thani to be Thailand MICE City]. Journal of Yala Rajabhat University, 17(1), 89-97.

วิชชุตา มาชู. (2565). การพัฒนาศักยภาพเมือง ไมซ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่การเป็นเมืองไมซ์ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(1), 89-97

Ministry of Tourism and Sports. (2018). rāingān sarup phonngā nathī samkhan læ dōtdēn khō̜ng krasūang kān thō̜ngthīeo læ kīlā. [Summary report on important and outstanding of the Ministry of Tourism and Sports]. Bangkok: Author.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานสรุปผลงานที่สำคัญและโดดเด่นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Nakhon Pathom Provincial Office. (2017). Khō̜mūnčhangwatnakhō̜npathom. [Nakhon Pathom information]. Nakhon Pathom: Author.

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2560). ข้อมูลจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: ผู้แต่ง.

National Science Technology and Innovation Policy Office. (2017). Yutsātkānwičhai lænawatkam Yīsip Pī (2561-2580). [20-year research and innovation strategy (2018 – 2037)]. Bangkok: Author.

สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Office of Permanent Secretary. (2021). Phǣnpatibatkān khapkhlư̄an kānphatthanākān thō̜ngthīaodōichumchon yāngyangyư̄nlæsāngsan 2561-2565. [Action plan for sustainable and creative community-based tourism development in 2018 – 2022]. Bangkok: Author.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

State Audit Office of the Kingdom of Thailand. (2020). Rāingān kāntrūatsō̜p phonsumrit læprasitthiphāp kāndamnœ̄nngān kānsongsœ̄m kānthō̜ngthīao mư̄angrō̜ng læchumchon. [The audit report of achievement and performance to promote tourism in second tier cities and communities]. Bangkok: Author.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2563). รายงานการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองและชุมชน. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

Suansi, P. (2003). Khūmư̄kānčhatkānthō̜ngthīaodōichumchon. [Community based tourism handbook]. Bangkok: Responsible Ecological Social Tour-REST.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

Suthas Na Ayutthaya, S. (2019). nawatwithīmai miti mai phāitai khwāmrūammư̄ พช. TCEB มช. TICA tō̜i ʻot sinkhā chumchon khaothưng talāt khunnaphāp phœ̄m rāidai kračhāi khwām čharœ̄n. [Innovative MICE, a new dimension under The collaboration of TCEB - CU - TICA, extending community products access to quality markets increase income, spread prosperity]. Retrieved November 30, 2020, from https://www.cdd.go.th/content

สุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2562). นวัตวิถีไมซ์ มิติใหม่ภายใต้ความร่วมมือ พช. – TCEB – มช. – TICA ต่อยอดสินค้าชุมชน เข้าถึงตลาดคุณภาพ เพิ่มรายได้กระจายความเจริญ. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.cdd.go.th/content

Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2017). Khūmư̄obrom bō̜risatrapčhatkān thurakitmaiphāinaiprathed. [Domestic destination management company standard: Domestic DMC Standard]. Bangkok: Author.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2560). คู่มืออบรมบริษัทรับจัดการธุรกิจไมซ์ภายในประเทศ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2021). Maiphư̄achumchon Phākklāng. [MICE for community: Central region]. Bangkok: Author.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2563). ไมซ์เพื่อชุมชน ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Van Phuong, T., Le Xuan, S., Le Duc, C., Dang, C. X., and Bui, T. M. H. (2020). Community tourism development in Viet Hai commune (Cat Ba, Hai Phong city, Viet Nam) under the green economy model. Environment and Natural Resources Research, 10(2), 43-53.