องค์ประกอบประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์เดลิเวอรี่

Main Article Content

ศรีศรินทร์ นรเศรษฐโสภณ
ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย
ภคพร ผงทอง
พิชญาภา พริ้มพราย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์เดลิเวอรี่  โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์เดลิเวอรี่ ในเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์เดลิวเวอรี่ จำนวน 385 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์เดลิเวอรี่ ในเขตเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบของประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เดลิเวอรี่ มี 3 องค์ประกอบ คือ มิติด้านต้นทุน มิติด้านการตอบสนอง และมิติด้านความเชื่อถือ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสองพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ทั้งในด้านเวลา ต้นทุน ความน่าเชื่อถือ โดยผู้ให้บริการต้องมีความคล่องตัวทั้งในด้านการจัดการสินค้าและข้อมูลคำสั่งซื้อของสินค้าเพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า อีกทั้งการขับขี่ต้องให้ความระมัดเพื่อไม่เกิดความเสียหายกับสินค้าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
นรเศรษฐโสภณ ศ. ., อธิรัฐจิรชัย ณ. ., ผงทอง ภ. ., & พริ้มพราย พ. . (2023). องค์ประกอบประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์เดลิเวอรี่. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 31–48. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques, Wiley, New York.

Chananchana J. (2021). Patčhai thī song phon tō̜ khwāmphưngphō̜čhai khō̜ng lūkkhā čhāk kānchai bō̜rikān khonsong sinkhā nai rūpbǣp dē li wō̜ rī. [Factors Affecting Customer Satisfaction from Delivery Service]. Journal of Public and Private Management, 3(3), 158–166.

จิราภรณ์ ชนัญชนะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าจากการใช้บริการขนส่งสินค้าในรูปแบบเดลิเวอรี่. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(3), 158–166.

Department of Primary Industries and Mines. (2017). Khūmư̄ kānpramœ̄n prasitthiphāp læ sakkayaphāp dān lōčhittik læ sap phlāi chēn. [Logistics and Supply Chain Efficiency and Potential Assessment Guide]. Chiang Mai: Center of Excellence in Logistics and Supply Chain Management Chiang Mai University.

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2560). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. เชียงใหม่: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Electronic Transactions Development Agency. (2021). E-Commerce Thai yuk lang COVID-19. [e-Commerce Thai after COVID-19]. Retrieved March, 3, 2022 from ttps://www.etda.or.th/th/UsefulResource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19. สืบค้น 3 มีนาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/UsefulResource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

Logistics Development Strategy Division. Office of National Economic and Social Development Council. (2021). Kān čhat song khan sutthāi. [Last - mile delivery]. Newsletter of the Logistics Development Strategy Division] 4(2), 4-7.

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การจัดส่งขั้นสุดท้าย. จดหมายข่าวกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 4(2), 4-7.

Nunthong K, Chummee P, Suvannin L. (2019). Rūpbǣp khunnaphāp kān bō̜rikān lōčhittik khō̜ng phū hai bō̜rikān lōčhittik nai prathēt Thai. [Logistics Service Quality Models of Logistics Service Providers in Thailand]. BU Academic Review, 18(2), 26-41.

กิตตินาท นุ่นทอง ภัทรพล ชุ่มมี, และวงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2562). รูปแบบคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. BU Academic Review, 18(2), 26-41.

Sakvanichkul P. and Jaroenwisan K. (2020). Kānsưksā prasitthiphāp kānhai bō̜rikān lōčhittik samrap ngān sadǣng sinkhā praphēt khrư̄angčhak kon læ theknōlōyī lōha kān. [Efficiency Study of Logistics Service for machinery exhibitions and metalworking technology]. Dusit Thani College, 14(2), 290–306.

พสิษฐ์ ศักดิ์วานิชกุล และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพการให้บริการโลจิสติกส์ สำหรับงานแสดงสินค้าประเภทเครื่องจักรกล และเทคโนโลยีโลหะการ. วิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 290–306.

Shounchupon A. and Teerathanachaiyakun K. (2015). Patčhai chœ̄ng sāhēt thī mī ʻitthi phon tō̜ ʻakā rot rāng khwām dai prīap nai kān khǣng khan khō̜ng thurakit lōčhittik phāk bō̜rikān khēt phāk klāng. [Causal Factors Influencing Competitive Advantage Creation of Logistics Businesses in the Service Sector in the Central Region]. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Arongkorn, 10(3), 21-29.

อมรรักษ์ สวนชูผล และกัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 21-29.

Watanarawee W. and Mingmalairaks P. (2019). Wikhro̜ ʻongprakō̜p chœ̄ng yư̄nyan prasitthiphāp kānčhatkān lōčhittik khō̜ng thurakit kānkhā khām dǣn Chīang RāI. [Performance Confirmatory Component Analysis Logistics Management of Chiang Rai Cross Border Trade Business]. Suthiparithat Journal, 33(105), 27–37.

วัชระ วัธนารวี และภูมิพัฒน์ มิ่งมาลัยรักษ์. (2562). วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันประสิทธิภาพ การจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจการค้าข้ามแดนเชียงราย. สุทธิปริทัศน์, 33(105), 27–37.