การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและ เพื่อผลการดำเนินงานของเกษตรกรสินค้าเกษตรใบเตยหอม

Main Article Content

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์
ปิยมาส กล้าแข็ง
อนุช นามภิญโญ
ศรีศรินทร์ นรเศรษฐโสภณ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของ 1) ความสามารถด้านทรัพยากรที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 4) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกร 5) ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกร  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์  เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกใบเตยหอม จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า 1)  ความสามารถด้านทรัพยากรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน  4) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกร 5) ความได้เปรียบทางการแข่งขัน  มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกร  โดยพบว่า โมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีหรือโมเดลมีความเที่ยงตรงสูง พิจารณาได้จากค่า chi-square = 93.64 ระดับความมีนัยสำคัญ(p-value) =0.07 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 0.97 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (AGFI) = 0.94 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) = 0.03 ประโยชน์จากการวิจัยนี้สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จำเป็นต้องปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้เติบโตอย่างมั่นคงและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anatan, L.(2014). Factors Influencing Supply Chain Competitive Advantage and Performance. International. Journal of Business and Information, 9(3), 311-334.

Bahremand, M., & Karimi, R. (2016). Identify and Evaluate the Factors Influencing Technological Capapilities using Fuzzy Dematel Techniques at Science and Technology Parks. Case study: Knowleadge-based Companies at Mashhad’s Science and Technology Park. Journal of Engineering and Applied Sciences, 11(4), 678-683.

Bowersox D., J., Closs D., J., Cooper M., B., & Bowersox J., C. (2020). Supply Chain Logistics Management. (5th ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Chamsuk, W., Fongsuwan, W., & Takala, J. (2017). The Effects of R&D and Innovation Capabilities on The Thai Automotive Industry Part’s Competitive Advantage: a Sem Approach. Management and Production Engineering Review, 8(1), 101-112.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology Testing. New York: Harper.

Dwivedi, Y. K., Hughes, L., Ismagilova, E., Aarts, G., Coombs, C., Crick, T., & Galanos, V. (2019). Artificial Intelligence (AI): Multidisciplinary Perspectives on Emerging Challenges, Opportunities, and Agenda for Research, Practice and Policy. International Journal of Information Management, 57, 1-47.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed). Uppersaddle River: Pearson Prentice Hall.

Hair, J., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper saddleRiver, New Jersey : Pearson Education International.

Likert R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill company.

National Science and Technology Development Agency. (2017). Rāingān kānsưksā khwām mo̜som kān čhattang khēt songsœ̄m sētthakit phisēt khēt nawattakam rabīang sētthakit phisēt phāk tawanʻō̜k [Feasibility Study in Establishment of Eastern Economic Corridor of Innovation] [Online]. Retrieved February 10, 2022, from https://www.eeci.or.th.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). รายงานการศึกษาความเหมาะสมการ (Feasibility Study) การจัดตั้งเขตส่งเสริม เศรษฐกิจพิเศษ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.eeci.or.th.

Phon-ngam, P. (2019). Kānsāng mūnlakhā phœ̄m čhāk phūmpanyā phākhāomā nai čhangwat lœ̄i sū sētthakit sāngsan. [Adding Value from Culture and Local Wisdom of Loincloth in Loei ProvinceToward Creative Economy. KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Studies), 7(3), 146-158.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2562). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาผ้าขาวม้าในจังหวัดเลยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 7(3), 146-158.

Rodyoo, P., & Boonmeesrisa-nga, M. (2019). Nǣothāng nai kānsāng mūnlakhā phœ̄m nai kān bō̜rikān læ phatthanā nawattakam kān bō̜rikān khō̜ng sanām kǭp ni kan ti kǭp khlap ʻAmphœ̄ Mư̄ang čhangwat Nakhō̜n Pathom. [The Value Added in Service and Service Innovation Development of Nikanti Golf Club, Muang District Nakhon Pathom]. Burapha UniversityJournal of Business Management, 8(2), 103-117.

ปภัสสร รอดอยู่ และ มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2561). แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มในการบริการ และพัฒนานวัตกรรมการบริการของสนามกอล์ฟนิกันติ กอล์ฟ คลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 103-117.

Santos, J. B., & Brito, L. A. L. (2012). Toward a Subjective Measurement Model for Firm Performance. Brazilian Administration Review, 9(6), 95-117.

Suvannin, W. (2020). Nǣothāng kān phœ̄m mūnlakhā sinkhā chumchon bon rākthān khō̜ng phūmpanyā thō̜ngthin yāng yangyư̄n kō̜ranī sưksā chumchon tonbǣp nai čhangwat Nō̜ng Khāi. [The Value-Added Approach of Local Wisdom Products for Sustainability: A Case Study of Community Model in Nong Khai Province]. BU Academic Review, 19(1), 109-127.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. ( 2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. วารสาร BU Academic Review, 19(1), 109-127.

Susanty, A., Sari, D. P., Rinawati, D. I., & Setiawan, L. (2018). Impact of Internal Driver on Implementation of GSCM Practice. Proceedings of the International Conference on Industrial Engineering & Operations Management. pp.149-156. Bandung: Indonesia.

Sunil Luthra; Dixit Garg and Abid Haleem. (2016). The Impacts of Critical Success Factors for Implementing Green Supply Chain Management towards Sustainability: an Empirical Investigation of Indian Automobile Industry. Journal of Cleaner Production, 121, 142-158.

Van der Voordt, T. (2017). Facilities Management and Corporate Real Estate Management: FM/CREM or FREM?. Journal of Facilities Management, 15(3), 244-261.