อิทธิพลของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและการมีใจบริการที่มีต่อคุณภาพ การบริการของผู้ให้บริการจัดส่งแบบส่งถึงที่ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ปองสุข ศรีชัย
สมควร สงวนแพง
ภีราวิชญ์ ชัยมาลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การมีใจบริการและคุณภาพการบริการของผู้ให้บริการจัดส่งแบบส่งถึงที่ในจังหวัดเชียงราย 2) เปรียบเทียบคุณภาพการบริการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาอิทธิพลของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและการมีใจบริการที่มีต่อคุณภาพการบริการ กลุ่มตัวอย่างจำนวนจำนวน 407 คน ได้มาจากการสุ่มด้วยวิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญจากพนักงานของบริษัทที่มีบริการจัดส่งแบบส่งถึงที่ในจังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี อายุการทำงานระหว่าง 1-3 ปี กลุ่มตัวอย่างมีระดับของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ระดับของการมีใจบริการและระดับของคุณภาพการบริการอยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกตามอายุการทำงาน ส่วนระดับการศึกษาและเพศนั้นไม่พบความแตกต่างกันของคุณภาพการบริการ ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและการมีใจบริการ


ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพการบริการของผู้ให้บริการจัดส่งแบบส่งถึงที่ได้ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริการมากที่สุดคือการมีใจบริการ (b=0.741) ทั้งนี้ตัวแปรทั้งสองร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของคุณภาพการบริการได้ร้อยละ 76.4 (R2=0.764) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


          Zคุณภาพการบริการ= 0.166 (Zทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก) + 0.741 (Zการมีใจบริการ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhanthumnawin, D. (2008). Lak læ theknik kān hā khunnaphāp khō̜ng bǣp wat chanit māt pramœ̄n rūam khā. [Principles and Techniques for Determining the Quality of Rating Scales]. Journal of Social Development, 10(1), 41-67.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2551). หลักและเทคนิคการหาคุณภาพของแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า. วารสารพัฒนาสังคม, 10(1), 41-67.

Borisut, A. (2022). Khunnaphāp kānhai bō̜rikān khonsong khō̜ng thurakit ʻāhān sat līang. [Transport Service Quality of Pet Food Business]. UMT-Poly Journal, 18(1), 151-160.

อารียา บริสุทธิ์. (2564). คุณภาพการให้บริการขนส่งของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 151-160.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Gronroos, C. (1990). Service Management and Marketing Managing the Moments of Truths in Service Competition. Massachusetts: Lexington Books.

Integrated Provincial Administration Committee, Chiang Rai Province. (2016). Phǣn phatthanā čhangwat Chīang Rāi. [Chiang Rai Province Development Plan]. Retrieved 2020, August 8, from http://www.chiangrai.net/cpwp/?wpfb_dl=432.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย. สืบค้น 8 สิงหาคม 2563, จาก http://www.chiangrai.net/cpwp/?wpfb_dl=432.

Le, D. N., Nguyen, H. T. & Hoang Truong, P. (2019). Port Logistics Service Quality and Customer Satisfaction: Empirical Evidence from Vietnam. The Asian Journal of Shipping and Logistics, 36(2), 89-103. Retrieved from https://doi.org/10.1016/ j.ajsl.2019.10.003.

Luthans, F., Luthans, K. W. & Luthans, B. C. (2004). Positive Psychological Capital: Beyond Human Capital and Social Capital. Business HoriZons, 47(1), 45-50.

Nettayaphan, T. (2019). Khunnaphāp kānhai bō̜rikān khonsong sinkhā khō̜ng bō̜risat khō chai nāfē rot thailǣn čhamkat. [Delivery Service Quality of Korchina Freight Thailand Company]. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 13(3), 53-59.

ธันวา เนตยพันธ์. (2562). คุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้าของบริษัท โคไชน่าเฟรท ไทยแลนด์ จำกัด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(3), 53-59.

Prajanban, P. (2012). Sathiti khan sūng samrap kānwičhai læ pramœ̄n. [Advanced Statistics for Research and Evaluation]. Phitsanulok: Naresuan University.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Salleknan, K. (2019). Chap chīpphačhō̜n e-commerce dūai khō̜mūn google search. [Pulse E-commerce with Google Search]. Retrieved 2021, June 10, from chrome-xtension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.bot.or.th/ Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_160.pdf.

กชพรรณ สัลเลขนันท์. (2562). จับชีพจร E-commerce ด้วยข้อมูล Google Search. สืบค้น 10มิถุนายน 2562, จาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_160.pdf.

Sangaareegul, A. (2021). Mōdēn khwāmsamphan chœ̄ng sāhēt patčhai thīm mī ʻitthiphon tō̜ khwām phakdī khō̜ng lūkkhā thī chai bō̜rikān khonsong phatsadu. [A Causal Relationship Model of Factors Affecting the Customers’ Loyalty of Parcel delivery]. Southeast Bangkok Journal (Humanities and Social Sciences), 7(2), 113-125.

อัสรียาภร สง่าอารีย์กุล. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มมีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 113-125.

Seneewong Na Ayutthaya, J. (2016). ʻItthiphon khō̜ng thun čhittawitthayā chœ̄ng būak læ banyākāt ʻongkān thī song phon tō̜ khunnaphāp kān bō̜rikān dōi mī khwām phūkphan nai ngān pentūa prǣ song phān khō̜ng phanakngān bō̜rikān rōngrǣm nai čhangwat Rātchaburī. [The Effect of Positive Psychological Capital and Organization Climate on Service Quality: the Mediation Role of work Engagement]. (Master Thesis, M.A., Srinakharinwirot University).

เจตลักษณา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2559). อิทธิพลของทุนจิตวิทยาเชิงบวกและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการโดยมีความผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านของพนักงานบริการโรงแรมในจังหวัดราชบุรี. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ).

Srijanthar, P. (2020). Rǣng čhūngčhai læ prasitthiphon kān patibat ngān khō̜ng bō̜risat khonsong hǣng nưng nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Work Motivation and Effectiveness of a Transportation Company in Bangkok Metropolitan]. (Master Thesis, M.B.A., Srinakharinwirot University).

ปพิชญา ศรีจันทรา. (2563). แรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Sudsang, N. (2016). Rabīap withī wičhai thāngkān ʻō̜k bǣp. [Research Methodology in Designs]. Bangkok: O S printing house.

นิรัช สุดสังข์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.

Theadnead, T., Rungrueng, P. & Wonglek, P. (2022). Khunnaphāp kān bō̜rikān thī samphan kap khwāmphưngphō̜čhai khō̜ng lūkkhā thī chai sūn bō̜rikān rotyon bō̜risat phra rām sām krup hō̜ndā ʻō̜tōmōbin čhamkat (sākhā phra pradǣng). [Service Quality Relating Customers’Satisfaction of Phraram 3 Group Honda Automobile Company Limited (Phrapradaeng Branch)]. Southeast Bangkok Journal (Humanities and Social Sciences), 8(2), 20-35.

ธวัชชัย เทศเนตร, ปฏิมา รุ่งเรือง และภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2565). คุณภาพการบริการที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้ศูนย์บริการรถยนต์บริษัท พระราม 3 กรุ๊ป ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด (สาขาพระประแดง). วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 20-35.