การศึกษาการคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

รามนรี นนทภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3 ด้านคือ ด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผล และด้านการนำเสนอตัวแทนความคิด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการคิดทางคณิตศาสตร์แบบอัตนัย จำนวน 7 ข้อ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analysis) การวิเคราะห์งานเขียน (Task Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytic Description) ผลการวิจัย พบว่า การคิดทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาเรียงตามค่าคะแนนมากไปน้อยตามลำดับ คือ ด้านการแก้ปัญหา ด้านการนำเสนอตัวแทนความคิด และด้านการให้เหตุผล ผลการสัมภาษณ์ ดังนี้ ด้านการแก้ปัญหา พบว่านักศึกษามีการฝึกฝนการวิเคราะห์ปัญหา มีการใช้กลยุทธ์ในด้านการแก้ปัญหา และสรุปคำตอบได้ถูกต้องและสอดคล้องกับปัญหา เพราะเป็นสิ่งที่ครูจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเป็นประจำ ด้านการนำเสนอตัวแทนความคิด พบว่านักศึกษาฝึกฝนการนำเสนอข้อมูลในสถานการณ์ต่าง ๆ ฝึกฝนการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ และมีการนำเสนอตัวแทนความคิด ด้านการให้เหตุผล พบว่านักศึกษาใช้ความรู้และข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์ เน้นการวิเคราะห์และให้เหตุผล ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และนำข้อมูลจากปัญหานั้นมาวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาได้ถูกต้อง แต่นักเรียนบางส่วนที่แก้ปัญหาไม่ได้หาคำตอบไม่ได้ จะไม่สามารถนำเสนอความคิดหรืออธิบายความถูกต้องและความสมเหตุสมผลของคำตอบได้ ส่งผลให้ไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรา ทองเกิด. (2542). กิจกรรมที่จัดในโรงเรียน. วารสารวิชาการ. 2(2).
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2545). การสอนคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2545). หยิบสิ่งรอบกายมาใช้เรียนรู้คณิตศาสตร์: แตงโมทรงลูกบาศก์. วารสารคณิตศาสตร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: โครงการ PISA 2009. กรุงเทพ ฯ : อรุณการพิมพ์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ผลของการประเมินระดับชาติ (GAT) ปีการศึกษา 2556. สามารถดาวโหลดได้จาก www.moe.go.th/webbpp/gis/ MyPage.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
อัมพร ม้าคนอง. (2547). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในประมวลบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัย.
Burrill, Gail. (1998). Let’s Talk About Mathematical Thinking and Reasoning. In NCTM News Bulletin. NCTM.
Guilford, J. P., & Hoepfner, R. (1971). The Analysis of intelligence. New York, NY: McGraw-Hill Book Co.
Isoda, M., and Katagiri, S. (2012). Mathematical Thinking : How to Develop it in The Classroom. World Scientific Publishing Japanese Ministry of Education. Retrieved From http://www.globaledresources.com/products/books/Guide_arithmetic_7-9.html)
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (1989). Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics. Reston, Virginia: NCTM.
. (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Roston, VA : The National Council of Teachers of Mathematics.
Sternberg, R. J. (1987). What is Mathematical Thinking?. In Sternberg, R. J., & Baron, J. B. (Eds.), Teaching Thinking Skills : Theory and Practice. New York : W.IT Freeman and Company.
Zohar, A. and Dori Y. (2003). The effect of Perceived Learner Advantages on Teachers’ Beliefs about Critical-Thinking Activities. Journal of Teacher Education, Vol. 56, No. 1, January, 2003.