คง เข้ม ข่าม ขลังเครื่องรางล้านนา

Authors

  • วิลักษณ์ ศรีป่าซาง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Keywords:

เครื่องรางล้านนา, ล้านนา, Lanna Amulet, Lanna

Abstract

ตำนานหลายฉบับกล่าวพ้องกันวว่า พระนางจามเทวีแห่งเมืองละโว้ ได้ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย เมื่อราวปี พ.ศ. 1300 ซึ่งแต่เดิมนั้น ดินแดนแถบนี้ เป็นที่อยู่ของชาวลวะคนพื้นถิ่น การเสด็จมาในครั้งนั้นได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย กาลต่อมาเมื่อพระญามังรายมีชัยเหนือนครหริภุญชัยพระองค์ทรงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา และสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายของพระองค์ได้ทรงสนับสนุนและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ถึงแม้พระพุทธศาสนาจะฝังรากลึกบนแผ่นดินล้านนาแล้ว แต่ผู้คนก็ยังยอมรับนับผีอันเป็นความเชื่อเดิม ทั้งพุทธและผีแฝดฟั่นความเชื่อและพิธีกรรมเข้าด้วยกัน ไปด้วยกันได้ เครื่องรางล้านนาเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นบทบาทการผูกมิตร ระหว่างพุทธ (รู้ตื่นรู้เบิกบาน) กับ ผี หรือไสยศาสตร์ (ผู้ยังหลับหลง) ในอดีต ผู้เคยบวชเรียนในพุทธศาสนาเท่านั้นที่สร้างเครื่องราง แม้แต่ในยุคปัจจุบันก็ยังร่วมแรงกันสร้างเครื่องราง เครื่องรางล้านนาหลากหลาย แยกตามฤทธีได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ปิยะ เน้นด้านเมตตามหานิยม และ กายะ เน้นด้านคงกระพันและป้องกัน เครื่องรางเหล่านี้เป็นทั้งของโบราณ เป็นงานศิลปะอุดมด้วยความเชื่อ ความหลากหลายของเครื่องที่ปรากฏในพื้นถิ่น มีทั้งที่เป็นของเดิมในชุมชน และรับเอาขนบความเชื่อพร้อมกับเครื่องรางจากต่างวัฒนธรรมเข้ามา การศึกษาครั้งนี้ ได้จัดแบ่งเนื้อหาเครื่องรางออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น ยันต์ (ตะกรุด) ผ้ายันต์ เบญจภาคีเครื่องรางยอดนิยมล้านนา (ได้แก่ ผ้ายันต์ม้าเสพนาง อิ่น ตะกรุดยันตแหนัง กะลาแกะรูปราหู วัวธนู) งา เขี้ยว เขา รวมทั้งเครื่องจากต่างวัฒนธรรม เป๊กแหย่งแสงแก้ว และคาถาศึกษาฤทธีแต่ละอย่างแต่ละประเภท การใช้งานเพื่อตอบสนองทั้งความเชื่อศรัทธา หรือในฐานะวัตถุเสริมกำลังใจนับเป็นสินค้ามีราคา และเมื่อเกิดการไหลบ่าเข้ามาของแรงานต่างชาติรวมทั้งการค้าขายตามแนวตะเข็บชายแดน เครื่องรางได้เคลื่อนย้ายเข้ามาพร้อมแรงงานเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะแรงงานจากรัฐฉาน การรับเอาเครื่องรางต่างวัฒนธรรมเข้ามา จนกลายเป็นเครื่องรางล้านนาในที่สุด ในขณะเดียวกันเครื่องรางในถิ่นล้านนาก็เคลื่อนย้ายไปสู่ดินแดนอื่น ทั้งดินแดนชายขอบ และโพ้นทะเล เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน เป็นต้น เมื่อมีผู้ต้องการเครื่องรางมากขึ้น มีการสร้างเครื่องรางใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ศรัทธา รวมทั้งทำเครื่องรางปลอม การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นเรื่ององค์ความรู้เพื่อสำแดงอัตลักษณ์ตัวตนคนพื้นถิ่นโดยเฉพาะ

 

Lanna Amulet

According to Lanna legends, Queen Chammadhevi of Lawo came to rule Hariphunchai kingdom around the 8th century. Originally, this area was occupied by Lawa, aboriginal people. Queen Chammadhevi’s coming brought Buddhism’s beliefs to spread in Lanna area. Many centuries later, Hariphunchai kingdom was conquered by King Mangrai, and he willingly accepted Buddhism. King Mangrai established Chiang Mai in 1296. All kings of the Mangrai Dynasty supported Buddhism, yet people still believed in traditional spirit. Buddhism and superstition were mixed together. Lanna amulet is one sample that reflects a close relationship between Buddhism and spirit or superstition. In the past, only persons who had learnt in Buddhist education could make amulets. Nowadays, however, amulets are still made by many fascinated people. Lanna amulets can be divided into two main groups: Piya for good luck and popularity, and Gaya for protection and invulnerability. Amulets are both antique and art that is full of beliefs. Some of them are original amulets from communities in Lanna, but some came from other different cultural areas. This study classified all amulets such as Yan, Pha Yan, Benjapakee or the most five popular amulets, ivory, horn, etc. Besides, the study also aims to examine superstitious features, usability that serves both believing in faith and consoling oneself. Nowadays, amulets are so precious that many people need to possess. Many amulets from foreign areas, especially Shan state, are taken into Thailand, and many Lanna amulets are sold to other areas as well. Therefore, many new amulets are made to serve the demand, including phony ones. So, this study focuses on the wisdom in Lanna amulets that shows unique identity of Lanna people.

Downloads

How to Cite

ศรีป่าซาง ว. (2017). คง เข้ม ข่าม ขลังเครื่องรางล้านนา. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(1), 13–27. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75181